การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายระหว่างสตรีวัยหลังหมดระดู ที่กลัวและไม่กลัวการล้ม
คำสำคัญ:
สตรีวัยหลังหมดระดู, การกลัวการล้ม, สมรรถภาพทางกายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายระหว่างสตรีวัยหลังหมดระดู ที่กลัวและไม่กลัวการล้ม ที่มีอายุระหว่าง 40-59 ปี ที่หมดระดูมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 104 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินการกลัวการล้มด้วยแบบประเมิน Fall Efficacy Scale-International (FES-I) ฉบับภาษาไทย เพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุมที่กลัวการล้ม (คะแนน FES-I มากกว่า 23 คะแนน) จำนวน 52 คน และกลุ่มที่ไม่กลัวการลม (คะแนน FES-I นอยกวาหรือเทากับ 23 คะแนน) จำนวน 52 คน อาสาสมัครทุกรายได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 3 การทดสอบ ได้แก่ การทดสอบแรงบีบมือ (Handgrip Strength Test-HST) เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ การทดสอบการเดินและกลับตัว 3 เมตร (Timed Up and Go Test-TUGT) เพื่อประเมินความสามารถในการทรงตัว และการทดสอบลุกนั่งห้าครั้ง (Five Times Sit to Stand Test-FTSST) เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ผลการศึกษาพบว่า สตรีวัยหลังหมดระดูที่กลัวการล้ม มีสมรรถภาพทางกายต่ำกว่าสตรีวัยหลังหมดระดูที่ไม่กลัวการล้ม โดยพบความแตกต่างของแรงในการบีบมือ ระยะเวลาเดินและกลับตัว 3 เมตร และระยะเวลาลุกนั่งห้าครั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่า สตรีวัยหลังหมดระดู ที่ไม่กลัวการล้มมีสมรรถภาพทางกายดีกว่าสตรีวัยหลังหมดระดูที่กลัวการล้ม ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักถึงการกลัวการล้ม และส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อลดการกลัวการล้มและความเสี่ยงในการล้มของสตรีวัยหลังหมดระดูต่อไป
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตาม อายุ เพศ และจังหวัด [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต. ผู้หญิงวัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน (Menopause) [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phukethospital.com/th/news-events/menopause/
มลฤดี ประสิทธิ์, ชวนชม สกนธวัฒน์, เกสร เหล่าอรรคะ, สุกรี สุนทราภา, ศรีนารี แก้วฤดี, วรลักษณ์ สมบูรณ์พร, และคณะ. อาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน ที่มารับบริการที่คลินิกวัยหมดประจำเดือนโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2550; 22(3): 267-74.
Jefferis BJ, Iliffe S, Kendrick D, et al. How are falls and fear of falling associated with objectively measured physical activity in a cohort of community-dwelling older men?. BMC Geriatr. 2014;14:114. Published 2014 Oct 27. doi:10.1186/1471-2318-14-114
del-Río-Valeiras M, Gayoso-Diz P, Santos-Pérez S, et al. Is there a relationship between short FES-I test scores and objective assessment of balance in the older people with age-induced instability?. Arch Gerontol Geriatr. 2016;62:90-96. doi:10.1016/j.archger.2015.09.005
Chamberlin ME, Fulwider BD, Sanders SL, Medeiros JM. Does fear of falling influence spatial and temporal gait parameters in elderly persons beyond changes associated with normal aging?. J Gerontol A Biol Sci Med Sci. 2005;60(9):1163-1167. doi:10.1093/gerona/60.9.1163
Yardley L, Beyer N, Hauer K, Kempen G, Piot-Ziegler C, Todd C. Development and initial validation of the Falls Efficacy Scale-International (FES-I). Age Ageing. 2005;34(6):614-619. doi:10.1093/ageing/afi196
Silveira T, Pegorari MS, Castro SS, Ruas G, Novais-Shimano SG, Patrizzi LJ. Association of falls, fear of falling, handgrip strength and gait speed with frailty levels in the community elderly. Medicina (Ribeirão Preto) 2015; 48(6): 549-56.
Park JH, Cho H, Shin JH, et al. Relationship among fear of falling, physical performance, and physical characteristics of the rural elderly. Am J Phys Med Rehabil. 2014;93(5):379-386. doi:10.1097/PHM.0000000000000009
จิราภรณ์ วรรณปะเข, ปฏิเวธ คงไพจิตรวงศ์, สิริพร ลอมสมบูรณ์, อภิญญา ทองประสาท. การเปรียบเทียบความสามารถทางกายระหว่างผู้สูงอายุที่กลัวและไม่กลัวการล้ม. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2561; 30(1): 70-80.
Moreira Bde S, Dos Anjos DM, Pereira DS, et al. The geriatric depression scale and the timed up and go test predict fear of falling in community-dwelling elderly women with type 2 diabetes mellitus: a cross-sectional study. BMC Geriatr. 2016;16:56. Published 2016 Mar 3. doi:10.1186/s12877-016-0234-1
ลัดดา เถียมวงศ์. การทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2554; 29(6): 277-87.
Fried LP, Tangen CM, Walston J, et al. Frailty in older adults: evidence for a phenotype. J Gerontol A Biol Sci Med Sci. 2001;56(3):M146-M156. doi:10.1093/gerona/56.3.m146
Bohannon RW. Hand-grip dynamometry predicts future outcomes in aging adults. J Geriatr Phys Ther. 2008;31(1):3-10. doi:10.1519/00139143-200831010-00002
Ramírez-Vélez R, Rodrigues-Bezerra D, Correa-Bautista JE, Izquierdo M, Lobelo F. Reliability of Health-Related Physical Fitness Tests among Colombian Children and Adolescents: The FUPRECOL Study. PLoS One. 2015;10(10):e0140875. Published 2015 Oct 16. doi:10.1371/journal.pone.0140875
Alexandre TS, Meira DM, Rico NC, Mizuta SK. Accuracy of Timed Up and Go Test for screening risk of falls among community-dwelling elderly. Rev Bras Fisioter. 2012;16(5):381-388. doi:10.1590/s1413-35552012005000041
Podsiadlo D, Richardson S. The timed "Up & Go": a test of basic functional mobility for frail elderly persons. J Am Geriatr Soc. 1991;39(2):142-148. doi:10.1111/j.1532-5415.1991.tb01616.x
Cheng YY, Wei SH, Chen PY, et al. Can sit-to-stand lower limb muscle power predict fall status?. Gait Posture. 2014;40(3):403-407. doi:10.1016/j.gaitpost.2014.05.064
Bohannon RW. Reference values for the five-repetition sit-to-stand test: a descriptive meta-analysis of data from elders. Percept Mot Skills. 2006;103(1):215-222. doi:10.2466/pms.103.1.215-222
Buatois S, Miljkovic D, Manckoundia P, et al. Five times sit to stand test is a predictor of recurrent falls in healthy community-living subjects aged 65 and older. J Am Geriatr Soc. 2008;56(8):1575-1577. doi:10.1111/j.1532-5415.2008.01777.x
Lin MR, Hwang HF, Hu MH, Wu HD, Wang YW, Huang FC. Psychometric comparisons of the timed up and go, one-leg stand, functional reach, and Tinetti balance measures in community-dwelling older people. J Am Geriatr Soc. 2004;52(8):1343-1348. doi:10.1111/j.1532-5415.2004.52366.x
จิรพัฒน์ นาวารัตน์, มูรณีย์ ดารามัน, วันวิสาข์ สุตระ, จุฬาลักษณ์ จิตรสว่าง, อรพรรณ มีเงิน. ค่าจุดตัดความเร็วในการเดินสำหรับทำนายการกลัวการหกล้มในผ้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2561; 21(3): 317-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9