การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพและการมีส่วนร่วม ของครอบครัว ในการจัดการระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ ทิพย์รัตน์ สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กนกพรรณ พรหมทอง สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • มนตรี รักภักดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
  • กัญญภา มุสิกะชะนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของครอบครัว, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ผู้ให้ข้อมูลในขั้นประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ จำนวน 114 คน (ร้อยละ 88.37) ของกลุ่มเป้าหมาย ผู้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ จำนวน 43 คู่ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับรู้จักและไม่แตกฉานทางสุขภาพ ร้อยละ 65.79 อยู่ในระดับรู้แจ้งและแตกฉานสูงเพียงร้อยละ 12.28 ผลการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพในระยะเวลา 4 เดือน พบว่า 1) กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพในระดับรู้แจ้งและแตกฉานสูงเพิ่มขึ้น จำนวน 26 คน (ร้อยละ 60.47) 2) คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพสูงกว่าก่อนการพัฒนาฯ (gif.latex?\bar{X}=115.67, SD=8.82 และ gif.latex?\bar{X}=103.90, SD=10.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) 3) ค่าความดันโลหิตลดลง ร้อยละ 100 และอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ตามเกณฑ์ จำนวน 26 คน (ร้อยละ 60.47) และ 4) ค่าความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ต่ำกว่าก่อนการพัฒนาฯ (gif.latex?\bar{X}=141.13, SD=5.04; gif.latex?\bar{X}=85.01, SD=3.85 และ gif.latex?\bar{X}=154.94, SD=3.69; gif.latex?\bar{X}=92.51, SD=3.01 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

Author Biographies

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

กนกพรรณ พรหมทอง, สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

มนตรี รักภักดี, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

เจ้าพนักงานสาธารณสุข

กัญญภา มุสิกะชะนะ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

Salem H, Hasan DM, Eameash A, El-Mageed HA, Hasan S, Ali R. Worldwide prevalence of hypertension: A pooled meta-analysis of 1670 studies in 71 countries with 29.5 million participants. Journal American College of Cardiology 2018;71(11):A1819.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. รายงานการประชุมวิชาการประจำปี 2563 ครั้งที่ 18 “Heart & Mind in Hypertension Management; 2563.

Health System Development Group. Highlights information campaign in world hypertension day 2017. Bangkok: Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control. [serial online]. 2017 [cited 2021 Jan 10];1-6 Available from: http://www.whleague.org/images/2017-WHD-Member-Reports.pdf

ณัฐธิวรรณ พันธุ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พ.ย. 17]: [หน้า 1-3]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/hot%20news_62.pdf

Du S, Zhou Y, Fu C, Wang Y, Du X, Xie R. Health literacy and health outcomes in hypertension: An integrative review. Int J Nurs Sci. 2018;5(3):301-309. Published 2018 Jun 9. doi:10.1016/j.ijnss.2018.06.001

อามานี แดมะยุ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล. 2563;35(3):87-107.

Suon M, Ruaisungnoen W. Health literacy on sodium restriction and associated factors among patients with hypertension in Phnom Penh, Cambodia. Nursing Science Journal of Thailand [serial online]. 2019[cited 2021 November 15];37(4):[32-41]. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/208720

วรรณศิริ นิลเนตร, ศรัณยา เฮงประพรหม, ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย. ระดับความรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. Journal Health Research. 2016;30(5):315-21.

ปิยะดา ยุ้ยฉิม, มยุรี นิรัตธราดร, พนิดา ศิริอำพันธ์กุล, ณัฐพัชร์ บัวบุญ. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการปัญหาการใช้ยาต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2561;48(1):44-56.

วริศรา ปั่นทองหลาง, ปานจิต นามพลกรัง, วินัฐ ดวงแสนจันทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(4):152-65.

Stringer ET. Action Research. 4th ed. Los Angeles: Sage; 2013.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: ขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด; 2562.

Sebern M. Shared care, elder and family member skills used to manage burden. J Adv Nurs. 2005;52(2):170-179. doi:10.1111/j.1365-2648.2005.03580.x

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562;25(3):280-95.

กานต์ณิพิชญ์ ปัญญธนชัยกุล, สุทธีพร มูลศาสตร์, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 2563;21(1):41-54.

Lenahan JL, McCarthy DM, Davis TC, Curtis LM, Serper M, Wolf MS. A drug by any other name: patients' ability to identify medication regimens and its association with adherence and health outcomes. J Health Commun. 2013;18 Suppl 1(Suppl 1):31-39. doi:10.1080/10810730.2013.825671

Manganello JA. Health literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Educ Res. 2008;23(5):840-847. doi:10.1093/her/cym069

Shi D, Li J, Wang Y, et al. Association between health literacy and hypertension management in a Chinese community: a retrospective cohort study. Intern Emerg Med. 2017;12(6):765-776. doi:10.1007/s11739-017-1651-7

ชาตรี แมตสี่, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9(2):96-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-02