การเฝ้าระวังติดตามและแผนเผชิญเหตุรองรับการแพร่ระบาดโรคติดต่อ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ภายใต้กลไกการจัดการภายในท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • โสมศิริ เดชารัตน์, ปร.ด. (เวชศาสตร์เขตร้อน) คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวัง, การติดตาม, แผนเผชิญเหตุเพื่อรองรับเหตุการณ์, การแพร่ระบาดโรคติดต่อ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินการ ระดับความรู้ความเข้าใจ และระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามและแผนเผชิญเหตุรองรับการแพร่ระบาดโรคติดต่อก่อน-หลังการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้กลไกการจัดการภายในท้องถิ่น สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 138 แห่งในจังหวัดพัทลุง เก็บข้อมูลในบุคลากรครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ปกครองของเด็กเล็ก จำนวนทั้งหมด 222 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม 2021 ถึงตุลาคม 2022 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา รวมถึงความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ขั้นแสวงหาความรู้: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่มีกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพ ไม่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อการรวบรวมข้อมูล ไม่มีการวิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุงข้อมูลที่สำคัญต่อการเฝ้าระวังติดตามและแผนเผชิญเหตุรองรับการแพร่ระบาดโรคติดต่อในชุมชน ขั้นการสะท้อนคิด: กลุ่มผู้มีส่วนร่วมต้องการพัฒนาศักยภาพด้วยกระบวนการการฝึกอบรมอย่างมีส่วนร่วม ภายหลังการพัฒนาศักยภาพพบว่า ระดับความรู้เฉลี่ยก่อนการพัฒนาศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=65.23, SD=4.51) และระดับความรู้เฉลี่ยหลังการพัฒนาศักยภาพอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=85.79, SD=5.21) มีความเหมาะสมเพิ่มมากขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.053 ขั้นการนำไปปฏิบัติจริง และติดตามประเมินผล: พบว่า ผลการดำเนินการ ระดับความรู้ความเข้าใจ และระดับการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.05

Author Biography

โสมศิริ เดชารัตน์, ปร.ด. (เวชศาสตร์เขตร้อน), คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

รองศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

References

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. รวมแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี: กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค; 2564.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน; 2564.

WHO. Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. 2021 [cited 2022 Apr. 15]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเฝ้าระวังติดตามและแผนเผชิญเหตุรองรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ตุลาคม 15]. เข้าถึงได้จากhttps://www.rism.ac.th/wp-content/uploads/2021/05/COVID-19-Guidebook-TH1.pdf.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Schools and Childcare Programs. [Internet]. 2021 [cited 2022 Apr. 15]. Available from: https://www. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/community/schools-childcare/index.html.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3):607–10.

Marshall C, Rossman G. Designing Qualitative Research. (6th ed.) Thousand Oaks, CA: Sage; 2016.

Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.

อุษา คําประสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโนนไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(1):30-44.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0002/00002647.PDF.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี – Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(1):53-61.

วลีรัตน์ อภัยบัณฑิตกุล. การพัฒนาระบบ และกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด 19 ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;3(2):55-71.

จิรัชยา เจียวก๊ก, วันชัย ธรรมสัจการ. ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2556;11(1):39-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01