ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรุณโรจน์ รุ่งเรือง สำนักงานเทศบาลตำบลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสมองเสื่อม, ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสูงเนิน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 211 คน เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์–เดือนสิงหาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป สัมพันธภาพในครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และการประเมินภาวะเสี่ยงสมองเสื่อมด้วยแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค

ผลการวิจัยพบความชุกของภาวะเสี่ยงสมองเสื่อม ร้อยละ 9.0 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงสมองเสื่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.05) คือปัจจัยด้านประชากรและสังคม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ รายได้ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ความสามารถในการได้ยิน ความสามารถในการมองเห็น ประวัติการบาดเจ็บที่ศีรษะ ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและการตรวจสุขภาพ จากผลการศึกษา บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยไปใช้กับผู้สูงอายุในชุมชน ทั้งการคัดกรอง การวางแผนกิจกรรมหรือจัดทำโครงการ เพื่อส่งเสริมด้านการดูแลตนเองของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเบื้องต้นเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

Author Biographies

อรุณโรจน์ รุ่งเรือง, สำนักงานเทศบาลตำบลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

รองศาสตราจารย์

References

ชัชวาล วงค์สารี, ศุภลักษณ์ พื้นทอง. ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ:การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก. วิชาการ. 2561; 22(3):166-79.

ชลิต เชาว์วิไลย, วินัย พูลศรี, ธีรนันท์ ตันพาณิชย์. แนวทางการป้องกันผู้สูงอายุจากภาวะสมองเสื่อม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(3):8-15.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. โครงการการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE–Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย. (Thai Mini – Mental State Examination;TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีจีทูล จำกัด; 2551.

Long JS. Regression Models for categorical and limited dependent variables. Thousand Oaks: Sage Publications; 1997.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

วิชัย เอกพลากร. บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

ศิรินทิพย์ คำฟูม, กฤษณพนธ์ ชัยมงคล, ชันลิตา ไชยชมพู, เพ็ญพิชชา แก้วมณีวงศ์. การคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและภาระในการดูแลตนเองในผู้สูงอายุ อ.แม่จัน จ.เชียงราย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2557; 29(4):389-93.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, ดวงหทัย ยอดทอง, พิศสมร เดชดวง. ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า. 2563; 3(2):133-48.

ชวนนท์ อิ่มอาบ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุ อำเภอวัดพลวง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(5):782-91.

ชุติมา ทองวชิระ, สุชาดา โทผล, เรณู ขวัญยืน, สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์. ความชุกปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ และการพัฒนาคู่มือการให้ความรู้ กรณีศึกษาชุมชนเขตบางพลัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2559.

สายสุนีย์ เลิศกระโทก, สุธรรม นันทมงคลชัย, และศุภชัย ปิติกุลตัง. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2556; 43(1):42-54.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2562; 8(2):59-74.

อาทิตยา สุวรรณ์, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2559; 5(2):21-32.

รัตติยา ฤทธิช่วย, อนุสรณ์ จิตมนัส, หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์, อรอุมา รักษาชล, วลิษา อินทรภักดิ์, ณัฎฐิณีย์ คงนวล. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2563; 13(1):56-64.

Plassman BL, Havlik RJ, Steffens DC, et al. Documented head injury in early adulthood and risk of Alzheimer’s disease and other dementias. Neurology. 2000; 55:1158-66.

วิลาสินี สุราวรรณ์. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 10(2):58-69.

ลลิดา พนาคร, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง, โชคชัย หมื่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมทรัพย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหญิง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558; 45(2):197-209.

นรากร สารีแหล้, เสรี ชัดแช้ม. ความจำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดสุราเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(2):15-21.

Molony SL, Waszynski CM, Lyder CH. (Eds.). Gerontological nursing : an advanced practice approach. Stamford, Connecticut: Appleton & Lange; 1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-07