ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด ภาวะสุขภาพจิต และพฤติกรรมสุขภาพ กับคุณภาพชีวิต ของวัยทำงานในสำนักงานเทศบาลเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต, ส.ม. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • มนฤดี แสงวงษ์, วท.ม. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • ศศิธร บุญสุข, วท.ม.* ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • ฐิติรัตน์ ภาวะสุทธิพงษ์, วท.ม. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • รัชดาพร จันทบุตร, ส.ม. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • จิรนันท์ เจริญผล, วท.บ. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • นิยม จันทร์นวล, ส.ด. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความเครียด, ภาวะสุขภาพจิต, พฤติกรรมสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ความเครียด ภาวะสุขภาพจิต พฤติกรรมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด ภาวะสุขภาพจิต และพฤติกรรมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของวัยทำงานในสำนักงานเทศบาลเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรวัยทำงานจำนวน 90 คน คัดเลือกตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ แบบประเมินความเครียด แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต และแบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า ตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลางๆ ร้อยละ 58.9  ความเครียดระดับน้อย ร้อยละ 55.6 ภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 100.0 และมีพฤติกรรมสุขภาพระดับดี ร้อยละ 61.1 ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับคุณภาพชีวิต (r=-0.300, 95%CI=0.09-0.48, p-value=0.005) และภาวะสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิต (r=0.437, 95%CI=0.25-0.59, p-value<0.001) ดังนั้น ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ควรให้ความสำคัญในการออกแบบการทำงานที่เหมาะสมป้องกันความเครียด และจัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรเพื่อพัฒนาคุณภาพที่ดีและยั่งยืน

Author Biographies

ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต, ส.ม., ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ

มนฤดี แสงวงษ์, วท.ม., ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ศศิธร บุญสุข, วท.ม.*, ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ฐิติรัตน์ ภาวะสุทธิพงษ์, วท.ม., ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

รัชดาพร จันทบุตร, ส.ม., ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

จิรนันท์ เจริญผล, วท.บ., ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้ช่วยนักวิจัย

นิยม จันทร์นวล, ส.ด., วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สถิติจำนวนประชากรและบ้าน [อินเตอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 28]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statINTERNET/#/TableTemplate/Area/statpop

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2557.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2662-2563. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี. ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี [อินเตอร์เน็ต] 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก:https://ubonlocal.go.th/public/default/index/index

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 [อินเตอร์เน็ต] 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: http://www.local.moi.go.th/thadsaban_update.pdf

สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ. วัยทำงานเสี่ยงโรคเรื้อรังคุกคาม [อินเตอร์เน็ต] 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 30]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การให้บริการแบบครบวงจร แนวทางการให้บริการเชิงรุกของกรมการปกครองเทศาภิบาล; 2546: 11-14.

The World Health Organization Quality of Life assessment (WHOQOL): position paper from the World Health Organization. Soc Sci Med. 1995;41(10):1403-1409. doi:10.1016/0277-9536(95)00112-k

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือกระบวนการจัดการคลินิกไร้พุง (DPAC) สำหรับสถานบริการสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Daniel WW. Biostatics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed.). New York: John Wiley & Sons; 2010.

กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด (ST5) [อินเตอร์เน็ต] 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/qtest5/

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, วรวรรณ จุฑา. การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552.

Best JW. Research in Education. (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1981.

กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย [อินเตอร์เน็ต] 2540 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/whoqol/

Wiersma WG, Jurs S. Research Method in Education an Introduction (9th ed). Massachusetts: Pearson; 2009.

ญาณิศา ลิ้มรัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลบรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาลคุณภาพชีวิตการทำงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

สุนันท์ ลี้อิสสรพงษ์, อารีรัตน์ ขำอยู่, วรรณี เดียวอิศเรศ. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน พฤติกรรม จริยธรรมของผู้นำ และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารแพทย์นาวี. 2562;40(1): 115-30.

วสราวลี แซงแสวง. คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-15