การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
  • ณฐิฌา แก้วอำไพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
  • วิไลพร คลีกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดบริการสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุและประเมินผล ดำเนินการตุลาคม 2563–กันยายน 2565 แบ่ง 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1–วิเคราะห์ปัญหาของรูปแบบการจัดบริการตาม Six Building Blocks ขั้นตอนที่ 2–ดำเนินการตาม Deming cycle แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) วางแผนและออกแบบ 2) นำรูปแบบไปใช้ 3) ประเมินผล และ 4) ปรับปรุงรูปแบบ และ ขั้นตอนที่ 3–ประเมินผลลัพธ์และปัจจัยสำเร็จและอุปสรรค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ รวม 58 คน ใช้แบบสอบถามเชิงคุณภาพ ข้อมูลจากระบบรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย รูปแบบการจัดบริการที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า “Buriram Elderly Seamless Care Model” ในผู้สูงอายุ 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มก่อนวัยสูงอายุ เพิ่มจุดบริการคัดกรองสุขภาพในชุมชน เน้นการสร้างความรอบรู้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ 2) กลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี เพิ่มการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชมรมผู้สูงอายุ 3) กลุ่มผู้สูงอายุเจ็บป่วย เพิ่มการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ เชื่อมโยงกับระบบฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง และ 4) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพิ่มความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดบริการดูแลระยะยาว และการส่งเสริมศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในพื้นที่ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ทั้งการคัดกรองสุขภาพที่สำคัญ (ร้อยละ 83.84) คัดกรองพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ร้อยละ 65.52) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (6,019 ราย) มีกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุม 207 จากทั้งหมด 208 อปท. (ร้อยละ 99.5) มีการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ 5 แห่ง ปัจจัยสำเร็จ ได้แก่ เครือข่ายท้องถิ่นที่เข้มแข็ง และระบบกำกับติดตามเป็นระยะ อุปสรรค พบว่าขาดระบบส่งต่อระหว่างคลินิกผู้สูงอายุ ดังนั้น การจัดบริการควรเริ่มตั้งแต่ก่อนวัยสูงอายุ มีระบบส่งต่ออย่างไร้รอยต่อ และขยายคลินิกผู้สูงอายุให้ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบริการต่อไป

Author Biographies

มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ณฐิฌา แก้วอำไพ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

วิไลพร คลีกร, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39387

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. แผนปฏิรูปสุขภาพใหม่. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 9]. เข้าถึงได้จาก: https://hrdo.org

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือ แนวทางการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 9]. เข้าถึงได้จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2021/01/book_5.pdf

สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 9]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/2903/hs1670.pdf?sequence=3&isAllowed=y

วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, ศิริพันธ์ สาสัตย์, พรทิพย์ มาลาธรรม, จิณณ์สิธา ณรงค์ศักดิ์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารสภาการพยาบาล. 2557; 29(3):104-15.

ปะราลี โอภาสนันท์, วิยะดา รัตนสุวรรณ, สุนีย์ ปัญญาวงศ์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35 (2):177-87.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, มาริสา สุวรรณราช และคณะ. การจัดระบบการดูแลผู้สุงอายุในชุมชน: บทบาทที่ท้าทายสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2563;14(3): 10-21.

วิชุดา ทัศแก้ว, ชนินทร์ เจริญกุล. การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ตามประกาศกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2554. วารสารราชพฤกษ์ 2560; 15(1):35-43.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. การพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานการคัดกรอง [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 9]. เข้าถึงได้จาก: https://brm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6966%20b0664b89805%20a484d7ac96c6edc48

World Health Organization. Everybody's business -- strengthening health systems to improve health outcomes: WHO's framework for action. World Health Organization. (Online). 2007 [cited 2020 Oct 30]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/43918

สกานต์ บุนนาค. รูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวทางสุขภาพในบริบทปัจจุบันและอนาคต. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4979/UHC-Sakarn.pdf?sequence=1

กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานงานโภขาการ [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://brm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=46522b5bd1e06d24a5bd81917257a93cps://brm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6966%20b0664b89805a484d7ac96c6edc48

กรมอนามัย. โปรแกรม LTC [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 19]. เข้าถึงได้จาก: http://202.139.202.209/repzone_hosp

กรมอนามัย. Blue book Application [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.พ. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://bluebook.anamai.moph.go.th/login

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.พ. 19]. เข้าถึงได้จาก:https://www.ftpi.or.th/2015/2125

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. เอกสารประกอบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการ ดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2559. (เอกสารอัดสำเนา)

ดลนภา ไชยสมบัติ, บัวบาน ยะนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(3):131-43.

วชากร นพนรินทร์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นวัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.

ศุภพิชญ์ ญาณโสภณ. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ของเขตสุขภาพที่ 2. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2564; 17(3):56-68.

กรมอนามัย.โครงการพัฒนาระบบสถานีสุขภาพต้นแบบ ปีงบประมาณ 2564 เพื่อเตรียมรองรับประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยเขตสุขภาพที่ 9 [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.พ. 19. เข้าถึงได้จาก: http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=4910.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล ในชุมชน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Individual Wellness Plan). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2564.

กานดาวสี มาลีวงษ์, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, และคนอื่นๆ. การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ผ่านกระบวนการเสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพโดยชมรมผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข 2563; 34(2):94-101.

วาสนา สิทธิกัน.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่; 2560.

ทิพยาภา ดาหาร, เจทสริยา ดาวราช. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมตาบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2561; 2 (3): 42-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06