ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน เขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • ศรัชฌา กาญจนสิงห์ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน, ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก, เด็กวัยเรียน, เขตสุขภาพที่ 6

บทคัดย่อ

การศึกษาระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน เขตสุขภาพที่ 6 เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารูปแบบการส่งเสริม “สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ” ในเด็กวัยเรียน เขตสุขภาพที่ 6” ที่ศึกษาภาวะซีด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซีดในเด็กวัยเรียน ทำการสุ่มแบบขั้นลำดับโดยสุ่มเพื่อเลือกจังหวัดที่เป็นตัวแทนเขตสุขภาพที่ 6 สุ่มเลือกโรงเรียน และสุ่มเลือกเด็กวัยเรียนที่มีอายุ 6-14 ปี ในแต่ละโรงเรียน จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ 1,441 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และนำข้อมูลไปพัฒนาเป็นระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน เขตสุขภาพที่ 6 ดำเนินการตรวจสอบ ปรับแก้ และนำระบบฯ ไปทดลองใช้ในเขตสุขภาพที่ 6 เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังทดลองใช้ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน ในเขตสุขภาพที่ 6 ด้วยสถิติ  Paired sample t-test  

ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะซีดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซีดในเด็กวัยเรียน พบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี เขตสุขภาพที่ 6 มีภาวะซีดค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 22.8 โดยเด็กอายุ 6-9 ปี ซีดมากกว่าอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 25.6 และ 20.4 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซีด คือ อายุเด็ก (p=0.020) สังกัดของโรงเรียน (p=0.047) การกินอาหารหลัก 3 มื้อ (p=0.019) เวลาในการนอนหลับ (p=0.013) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (p=0.011) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับภาวะซีด 2) ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียนทำให้ผลการดำเนินงานการจ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

Author Biography

ศรัชฌา กาญจนสิงห์, กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2561 ส.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

พงศธร พอกเพิ่มดี. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2460-2579). ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2561). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

หัทยา ดำรงค์ผล. ทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560;62(3):271-6.

โสรยา ชัชวาลานนท์. คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็กตอนเด็กวัยเรียน 6-12 ปี. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2559.

ดุสิดา เครือคำปิว. ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน [อินเทอร์เน็ต]. กรมสุขภาพจิต; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=189

อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ. การเจริญเติบโต พัฒนาการและบทบาทพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน. เชียงใหม่: ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550. หน้า 24.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร, นิชรา เรืองดารากานนท์, ภาสุรี แสงศุภวานิช และปราณี ชาญณรงค์. สุขภาวะของเด็กไทย 2553. กุมารเวชสาร. 2553;17(2):87-8.

วินัดดา ปิยะศิลป์. ปัญหาการเรียน: ต้นตอของปัญหาสังคมจริงหรือ?. กุมารเวชสาร. 2553;17(2):99-101

เดือนธิดา ทรงเดช. ภาวะโลหิตจางมีผลต่อความฉลาดในเด็กจริงหรือ? [อินเทอร์เน็ต]. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558 [เข้าถึงเมื่อง 2561 ส.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.Mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/14jan2020-1529

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2560

กระทรวงสาธารณสุข. ขอความร่วมมือให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้งแก่เด็กปฐมวัย (6 เดือน-5 ปี) และให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้ง แก่เด็กวัยเรียน (6-14 ปี). หนังสือราชการที่ สธ 0906.04/ว1068 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556.

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงานตามตัวชี้วัด (HDC Report) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อง 2561 ส.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย; 2558.

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP). ร่างมาตรฐานการทำงานการป้องกันโลหิตจางในเด็ก. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2558 พ.ค. 6]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/12/QS-animia.pdf

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบ่งตามกลุ่มวัย (ชุดสิทธิประโยชน์) ปี พ.ศ. 2559. [อินเทอร์เน็ต]. คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2560; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2560 พ.ค. 6]. เข้าถึงได้จาก: http://hp.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1239

World Health Organization. Guideline: Daily iron and folic acid supplementation in pregnant women. Geneva: World Health Organization; 2012.

World Health Organization. Regional Office for South-East Asia. Strategies to prevent anaemia: recommendations from an expert group consultation, New Delhi, India, 5-6 December 2016 [Internet]. [cited 2018 Aug. 20]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/312109

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน เด็กวัยเรียน 6-12 ปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2561 ส.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123138.pdf

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. คณะกรรมการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, วินัดดา ปิยศิลป์, วันดี นิงสาสนนท์, ประสบศรี อึ้งถาวร, บรรณาธิการ. Guideline in Child Health Supervision. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทสไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2557. หน้า 194-204.

Labbé RF, Vreman HJ, Stevenson DK. Zinc protoporphyrin: A metabolite with a mission. Clin Chem. 1999;45(12):2060-2072.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในระดับขั้นพื้นฐาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พ.ค. 17]. เข้าถึงได้จาก: http://www.niets.or.th

ศรัชฌา กาญจนสิงห์. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กทารก...อันตรายจริงหรือ? [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://srushcat.files.wordpress.com/2015/07/anemia.pdf .

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. แนวทางการจัดอาหารกลางวันเด็กวัยเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ); 2562.

Chang S, Wang L, Wang Y, et al. Iron-deficiency anemia in infancy and social emotional development in preschool-aged Chinese children. Pediatrics. 2011;127(4):e927-e933. doi:10.1542/peds.2010-1659

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ชุดความรู้ NuPETHS. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยปริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10