ผลของการสอนโดยชุดการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับ การทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็วต่อความรู้และความสามารถในการอ่าน และเข้าใจตัวเลขเกี่ยวกับสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยชุดการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็วต่อความรู้และความสามารถในการอ่านและเข้าใจตัวเลขเกี่ยวกับสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอัตราการกรองของไตลดลงอย่างรวดเร็วของคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลภักดีชุมพล ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวนกลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมรับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองรับโปรแกรมการสอนด้วยชุดการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้ทางสุขภาพ 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์: ส่งคลิปวิดีโอ ทั้งหมด 6 คลิป ระยะเวลาของโปรแกรม 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้แบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอัตราการกรองของไตลดลงอย่างรวดเร็ว
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้และความสามารถในการอ่านและเข้าใจตัวเลขเกี่ยวกับสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอัตราการกรองของไตลดลงอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้นหลังได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าควรนำชุดการสอนดังกล่าวไปใช้ในคลินิกโรคเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอัตราการกรองของไตลดลงอย่างรวดเร็วมีความรอบรู้ทางสุขภาพมากขึ้น
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. Thailand Medical Services Profile 2015– 2018 (การแพทย์ไทย 2558-2561) Second Edition Volume 2 [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 28] เข้าถึงได้จาก https://www.sem100library.in.th/opac/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00014982
Vejakama P, Ingsathit A, Attia J, Thakkinstian A. Epidemiological study of chronic kidney disease progression: a large-scale population-based cohort study. Medicine (Baltimore). 2015 Jan;94(4):e475. doi: 10.1097/MD.0000000000000475.
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโรคหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 20] เข้าถึงได้จาก http://www.hed.go.th/linkHed/index/366
ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิต. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2560;23(2):94-106.
Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, Thompson JA, Gazmararian JA, Huang J. Health literacy and mortality among elderly persons. Arch Intern Med. 2007 Jul 23;167(14):1503-9. doi: 10.1001/archinte.167.14.1503.
นิตยา สิตะเสน, กีรดา ไกรนุวัตร, รักชนก คชไกร. ความชุกและปัจจัยทำ นายการเกิดโรคไตจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563;38(4):31-43.
อ้อมฤทัย มั่นในบุญธรรม. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2562;1(2):121-32.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008 Dec;67(12):2072-8. doi: 10.1016/j.socscimed.2008.09.050.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2560.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง ประเมินผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 20] เข้าถึงได้จาก http://agingthai.dms.go.th/agingthai/manual-guideline/manual-guideline-table/?dtid=44
สายฝน สารินทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง. วารสารกระทรวงสาธารณสุข. 2562;29(2):86-101
Baker DW, Williams MV, Parker RM, Gazmararian JA, Nurss J. Development of a brief test to measure functional health literacy. Patient Educ Couns. 1999 Sep;38(1):33-42. doi: 10.1016/s0738-3991(98)00116-5.
ญาดา รักธรรม, รัตนาวลี ดีนวนพะเนา, สุกัญญา ทะชัน, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น. ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2563;14(3):139-48
ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกัน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;13(3):56-68
ประศักดิ์ สันติภาพ. โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพตามการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 2563;6(1):9-18
Klinovszky A, Papp-Zipernovszky O, Buzás N. Building a House of Skills-A Study of Functional Health Literacy and Numeracy among Patients with Type 2 Diabetes in Hungary. Int J Environ Res Public Health. 2021 Feb 6;18(4):1547. doi: 10.3390/ijerph18041547.
Marciano L, Camerini AL, Schulz PJ. The Role of Health Literacy in Diabetes Knowledge, Self-Care, and Glycemic Control: a Meta-analysis. J Gen Intern Med. 2019 Jun;34(6):1007-1017. doi: 10.1007/s11606-019-04832-y.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9