ประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล จากการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
คำสำคัญ:
ประสบการณ์การเรียนรู้, การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลจากการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 16 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2565 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤติ ได้แก่ สมรรถนะด้านการประเมินผู้ป่วย สมรรถนะการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีในการดูแลผู้ป่วย และสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวม และ 2) ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการฝึกปฏิบัติงานการปรับตัว สภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย การปฏิบัติงานล่าช้า ความไม่มั่นใจในการปฏิบัติงาน และการทำหัตถการต่างๆ ในหอผู้ป่วยวิกฤต ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงประสบการณ์การเรียนรู้และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติงานและใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนต่อไป
References
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 8. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา; 2557.
สิริอร ข้อยุ่น, วัจนา สุคนธวัฒน์, เบญจวรรณ กิจควรดี, จุฑารัตน์ ลมอ่อน, ภาสินี โทอินทร์. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต. วารสารเชียงรายเวชสาร. 2563;12(2):88-102.
วิจิตรา กุสุมภ์, สุนันทา ครองยุทธ. ผลกระทบด้านจิตใจในผู้ป่วยวิกฤต: กลยุทธ์ในการจัดการ. วารสารพยาบาล. 2563;69(3):53-61.
จารุวรรณ บุญรัตน์, สุพัตรา อุปนิสากร. การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยวิกฤตและครอบครัวในไอซียู: ประสบการณ์ทางการพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2555;4(1):1-13.
สถาบันพระบรมราชชนก. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม; 2560.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ, วิลาวัณย์ เพ็งพานิช. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ.2563;6(2):16-27.
ปิติณัช ราชภักดี. ความต้องการของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยวิกฤต. 2560. [สืบค้นเมื่อ 2565 พ.ค. 20]. สืบค้นจาก: https://mis.ratchathani.ac.th/file_re/bjxldbvWed103346.pdf
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์, ธัญญารัตน์ บุญโทย. ประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล.2561;33(4):75-92.
Koch T. Interpretive approaches in nursing research: the influence of Husserl and Heidegger. J Adv Nurs. 1995 May;21(5):827-36. doi: 10.1046/j.1365-2648.1995.21050827.x.
ภรณี สวัสดิ์-ชูโต, อาภา หวังสุขไพศาล. ประสบการณ์เปลี่ยนผ่านของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติงานครั้งแรกในหอผู้ป่วย. วารสารคณะพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา.2562;27(3):32-42.
Tiwaken SU, Caranto LC, David JT. The Real World: Lived Experiences of Student Nurses during Clinical Practice. International Journal of Nursing Science. 2015;5(2):66-75.
ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, นฤมล จันทรเกษม, สมหวัง โรจนะ, กนกพร เทียนคำศรี. ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลระหว่างฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยหนัก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า.2560;34(1):6-16.
Hutchinson TL, Janiszewski Goodin H. Nursing student anxiety as a context for teaching/learning. J Holist Nurs. 2013 Mar;31(1):19-24. doi: 10.1177/0898010112462067.
ภัททิยา จันทเวช. การเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลเพื่อลดความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์.2561;25(1):184-91.
Yang J. Korean nursing students experience of their first clinical practice. Journal of Nursing Education and Practice.2013;3(3):128-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9