ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี หลิ่วน้อย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กาญจนา พิบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, ผู้สูงอายุ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 325 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยด้านพฤติกรรมการป้องกันติดเชื้อไวรัสโรคโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการป้องกันโรค และสิ่งชักนำในการสนับสนุนทางสังคมด้านข่าวสารการป้องกันโรค เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนธันวาคม 2564 ถึง กรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยคะแนน 25.80 (SD=4.83) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยทำนายพฤติกรรม การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกมี 2 ปัจจัยคือ สิ่งชักนำในการสนับสนุนทางสังคมด้านข่าวสารการป้องกันโรค (β=0.700, p<0.001) และการรับรู้ความรุนแรงของโรค (β=0.125, p<0.001) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกัน ได้ร้อยละ 53.2 (R2Adj=0.532, p<0.001) ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรนำสิ่งชักนำในการสนับสนุนทางสังคม ด้านข่าวสารการป้องกันโรค และการรับรู้ความรุนแรงของโรค ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้สูงอายุต่อไป

Author Biographies

วิลาสินี หลิ่วน้อย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

นักศึกษาปริญญาโท

ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์

กาญจนา พิบูลย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์

ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์

References

Centre for Health Protection. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). [Internet]. 2020 [Cited 2021 Jan 24]. Available from: https://www.chp.gov.hk/en/index.html

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19). [Internet]. 2021 [Cited 2021 Feb 24]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 730 วันที่ 2 มกราคม 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php

World Health Organization. Situation reports. [Internet]. 2023 [Cited 2023 Jan 15] Available from: https://covid19.who.int/?adgroupsurvey={adgroupsurvey}&gclid=CjwKCAiA5Y6eBhAbEiwA_2ZWIbLwsq2YI7Roj5p3L6LxzP34a_nkUZUAxzva4ueyQi4bjY-94bpKaxoC2j0QAvD_BwE

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. การกำหนดพื้นที่ที่มีการเชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อ. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.พ. 17]. เข้าถึงได้จาก: http://www.moicovid.com/

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ผู้สูงอายุติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศไทยปัจจุบัน. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1167

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ภาคตะวันออก. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.พ. 17]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสุขภาพดี. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ; 2560. 12-17.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. ผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์การระบาด COVID-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://thailand.unfpa.org/th/elderly-COVID19

กรมควบคุมโรค. แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธ.ค. 19] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php

Chen Y, Zhou R, Chen B, Chen H, Li Y, Chen Z, Zhu H, Wang H. Knowledge, Perceived Beliefs, and Preventive Behaviors Related to COVID-19 Among Chinese Older Adults: Cross-Sectional Web-Based Survey. J Med Internet Res. 2020 Dec 31;22(12):e23729. doi: 10.2196/23729.

พรรษมน คัฒมาตย์, จงจิต เสน่หา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2563; 31(1), 62-75.

Tong KK, Chen JH, Yu EW, Wu AMS. Adherence to COVID-19 Precautionary Measures: Applying the Health Belief Model and Generalised Social Beliefs to a Probability Community Sample. Appl Psychol Health Well Being. 2020 Dec;12(4):1205-1223. doi: 10.1111/aphw.12230.

เกษแก้ว เสียงเพราะ. ทฤษฎี เทคนิค การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและการประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

Becker, Marshall H. The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs. 1974; 2(4): 409-19.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. โครงการการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์การเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai) 2002. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ; 2545.

Pallant. SPSS Survival Manual: A step by step guide to data analysis using IBM SPSS (Sixth edition). England, McGraw-Hill; 2007.

Munro. Statistical Methods for Health Care Research (6th ed). Philadelphia: Lippincott Williams&Wilkins; 1997.

เพ็ญศรี หงส์พานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด -19 ของประชาชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยการจัดการแห่งแปซิฟิกสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2564; 7(3): 174-85.

เชาวลิต เลื่อนลอย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2565; 5(1): 18-33.

Delshad Noghabi A, Mohammadzadeh F, Yoshany N, Javanbakht S. The prevalence of preventive behaviors and associated factors during the early phase of the COVID-19 pandemic among Iranian People: Application of a Health Belief Model. J Prev Med Hyg. 2021 Apr 29;62(1):E60-E66. doi: 10.15167/2421-4248/jpmh2021.62.1.1622.

ซรอ เล๊าะแม, มยุรี ยีปาโล๊ะ, เขมพัทธ์ ขจรกิตติยา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2565; 4(3): 12-25.

Karimy M, Bastami F, Sharifat R, Heydarabadi AB, Hatamzadeh N, Pakpour AH, Cheraghian B, Zamani-Alavijeh F, Jasemzadeh M, Araban M. Factors related to preventive COVID-19 behaviors using health belief model among general population: a cross-sectional study in Iran. BMC Public Health. 2021 Oct 24;21(1):1934. doi: 10.1186/s12889-021-11983-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-15