การพัฒนารูปแบบบริการตามนโยบาย 3 หมอ ในการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยประคับประคองในชุมชน

ผู้แต่ง

  • นครินทร์ โสมาบุตร, พ.บ. โรงพยาบาลสตึก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

นโยบาย 3 หมอ, สารสกัดกัญชาทางการแพทย์, ผู้ป่วยประคับประคอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการตามนโยบาย 3 หมอ ในการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยประคับประคองในชุมชน และศึกษาผลของการบริการตามนโยบาย 3 หมอ ในการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในด้านคุณภาพชีวิต ผลข้างเคียง และความพึงพอใจของผู้ป่วยประคับประคองในชุมชน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยประคับประคองที่ขึ้นทะเบียนมีอายุมากกว่า 25 ปี ไม่เป็นหญิงตั้งครรภ์ และไม่มีข้อห้ามของการใช้กัญชาทางการแพทย์ โดยมีผู้ป่วยประคับประคองเข้าร่วมศึกษา 59 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาใช้แบบสอบถาม แบบประเมินคุณภาพชีวิต และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐานและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมพัฒนารูปแบบบริการตามนโยบาย 3 หมอ จำนวน 62 ราย เป็นหมอคนที่ 1 จำนวน 36 ราย หมอคนที่ 2 จำนวน 24 ราย หมอคนที่ 3 จำนวน 2 ราย โดยสามารถดำเนินกิจกรรม 3 หมอครบ ร้อยละ 100  ผู้ป่วยประคับประคองใช้เพื่อลดอาการปวดจากโรคมะเร็งมากที่สุด และหลังใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ตามรูปแบบบริการ 3 หมอ ในด้านคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้ป่วยประคับประคองในชุมชนที่เข้ารับบริการตามกิจกรรม 3 หมอ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน และดูแลตัวเอง โดยไม่พบผลข้างเคียงชนิดรุนแรงจาการใช้สารสักดกัญชาทางแพทย์ แต่ยังพบผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น เวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน และผลลัพธ์ความพึงพอใจเรื่องความรวดเร็วในการเข้าถึงบริการมากที่สุด และหากขยายผลการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบบริการ ตามนโยบาย 3 หมอ ในผู้ป่วยประคับประคองในชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่จะเป็นการเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอัตราการตายของผู้ป่วยประคับประคองในชุมชนต่อไป

Author Biography

นครินทร์ โสมาบุตร, พ.บ., โรงพยาบาลสตึก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านเวชกรรม)

References

กรมการแพทย์. การใช้กัญชาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

ขนิษฐา ทุมา, มานพ คณะโต. การศึกษาการดำเนินงานป้องกัน แก้ไขปัญหาและการควบคุมกัญชาในพื้นที่แหล่งปลูกที่มีการแพร่ระบาดในพื้นที่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น. เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลยาเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

พิชัย แสงชาญชัย, พงศธร เนตราคม, นวพรหิรัญ วิวัฒน์กุล. จิตเวชศาสตร์การติดสารเสพติด. สำนักงานคณะกรรมการป้องและปราบปรามยาเสพติด; 2549. กรุงเทพฯ: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2559

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 218ง 2562; 2562: 1-3.

ตำรับยาไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม 16 ตำรับ. สูตรยากัญชาแผนไทย. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

Kalant H. Medicinal use of cannabis: history and current status. Pain Res Manag. 2001 Summer;6(2):80-91. doi: 10.1155/2001/469629.

United Nations Office on Drugs and Crime Cannabis. A Short Review. Geneva: UNODC; 2015.

Heuberger JA, Guan Z, Oyetayo OO, Klumpers L, Morrison PD, Beumer TL, van Gerven JM, Cohen AF, Freijer J. Population pharmacokinetic model of THC integrates oral, intravenous, and pulmonary dosing and characterizes short- and long-term pharmacokinetics. Clin Pharmacokinet. 2015 Feb;54(2):209-19. doi: 10.1007/s40262-014-0195-5.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน นโยบาย 3 หมอ. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กิตติวัฒน์ กันทะ. การศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยประคับประคองและกัญชาทางการแพทย์. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2021.

นริศา คาแก่น, เจริญ ตรีศักดิ์. กัญชาทางการแพทย์สำหรับมะเร็ง. วารสารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. 2562; 1(1):16-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-29