ศักยภาพการดูแลตนเองระหว่างการปฏิบัติงานในการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • พีระพล อุประ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • แก้วมุกดา อุคำ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วรรณภา หอมจันทร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชไมพร พิมพ์มีลาย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นพศิลป์ ชินบูรณ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นริศรา ยางสุด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ประยุกต์ เดชสุทธิกร ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ศักยภาพการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการดูแลตนเองระหว่างการปฏิบัติงานในการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  เก็บข้อมูลในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2564  สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 348 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาคค่าเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วยสถิติที ( Independent t-test)  

ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพการดูแลตนเองระหว่างการปฏิบัติงานในการป้องกันโรคโควิด-19 ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อยู่ในระดับมาก โดยค่าคะแนนศักยภาพการดูแลตนเองระหว่างการปฏิบัติงานในการป้องกันโรคโควิด-19 จำแนกตาม เพศ ความเป็นผู้สูงอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน และการเคยเข้ารับการอบรมอย่างเป็นระบบนั้น ไม่แตกต่างกันทางสถิติ การศึกษานี้สะท้อนว่า ศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อยู่ในระดับดีพอกันทั้งพื้นที่ การศึกษาครั้งต่อไป ควรเพิ่มเติมเรื่องการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในสถานการณ์ภาวะปกติใหม่ต่อไป อันได้แก่ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การจัดการความเครียด การสร้างพลังสุขภาพจิต การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นต้น

Author Biographies

จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์

พีระพล อุประ, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษา

แก้วมุกดา อุคำ, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษา

วรรณภา หอมจันทร์, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษา

ชไมพร พิมพ์มีลาย, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษา

นพศิลป์ ชินบูรณ์, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษา

นริศรา ยางสุด, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษา

ประยุกต์ เดชสุทธิกร, ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์

ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์, ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) [Online]. 2020 [cite 2020 Oct 16]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel- coronavirus-2019.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. คำสั่งจังหวัดสกลนคร ที่ 29/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://sakonnakhon.go.th/2020/?p=4583&fbclid=IwAR2UYP9jTcceAmjMSTVC5N-ZIApV_aQnS_gxqzz80pyedyI3Hrq1_fKKx7w.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การจัดระบบอสมและภาคประชาชนสำหรับ Local quarantine และ Home quarantine [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับการสวมหน้ากากอนามัย [อินเตอร์เน็ต ]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 8]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction11.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 8]. เข้าถึงได้จาก: https://www.skko.moph.go.th/dward/web/index.php?module=skko

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

กาญจนา ปัญญาธร, กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, พรพิมล ศรีสุวรรณ. ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2565;30(1):1-11.

ศุภัคชญา ภวังครัตน์, สมภพ อาจชนะศึก, ปิยณัฐ นามชู. การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พ.ย. 25]. เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/(Full_paper_edit)

เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2564;4(1):44-58.

พีรยุทธ บุญปาล. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) พื้นที่หมู่บ้านคู่ขนานชายแดนไทย-เมียนมาร์ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.172/academic/web/files/2564/research

จิตรา มูลทิ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการปองกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9. 2564;27(2):1-5.

วิลาสินี หลิ่วน้อย, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, กาญจนา พิบูลย์, ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(2):394-407.

ณฐนนท บริสุทธิ์. การศึกษาสถานการณ์และทิศทางการพัฒนา อสม. ในยุคประเทศไทย 4.0. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/the_study_of_situation_and_village_health_volunteer_development_2.pdf

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/2020/05/CV19-02.pdf

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564;1(2):75-90.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคติดต่อบทบาทการดำเนินงานการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารบำราศนราดูร. 2563;14(2):92-103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28