ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบเพียร์สันไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 60.62 (SD=11.85) ส่วนรายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ ด้านการประเมินข้อมูลและบริการด้านสุขภาพ และด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.35 (SD=2.87), 15.34 (SD=3.52), 15.01 (SD=3.56) และ 14.86 (SD=3.72) ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ย 77.04 (SD=12.10) พฤติกรรมสุขภาพรายด้านอยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และด้านการสูบบุหรี่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.62 (SD=5.96) และ 7.20 (SD=3.07) ตามลำดับ ส่วนรายด้านที่อยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการจัดการความเครียด ด้านการออกกำลังกาย ด้านการดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.98 (SD=4.75), 6.98 (SD=2.67), 5.83 (SD=2.36) และ3.42 (SD=1.73) ตามลำดับ และปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ อายุ ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านการประเมินข้อมูลและบริการด้านสุขภาพ และเพศ โดยมีค่าความสัมพันธ์เพียร์สันไคสแควร์ เท่ากับ 34.69, 33.00, 21.75, 17.37 และ14.06 ตามลำดับ ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ต่อไป
References
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
Edwards M, Wood F, Davies M, Edwards A. The development of health literacy in patients with a long-term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health. 2012 Feb 14;12:130. doi: 10.1186/1471-2458-12-130.
Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 2000;15(3):259-67.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด; 2561.
วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 2560;44(3):183-97.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ขึ้นไป พ.ศ. 2562. กรุงเทพ: ฟันนี่ พับบลิชชิ่ง; 2563.
Health Data Center. Health Status. [internet]. 2023 [cited 2023 Jan 30]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อที่สำคัญของประชาชนวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธ.ค. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/437
Health Data Center. Population pyramid classified by sex, age group. [internet]. 2023 [cited 2023 Jan 30]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2556:16(2):9-18.
กรมอนามัย. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการขับเคลื่อน กรมอนามัย; 2561.
กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, สุภิศา ขำเอนก, อภิสรากรณ์ หิรัณย์วิชญกุล, สุวรัตน์ ธีระสุต, ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;17(1):1-12
วรางคณา บุญยงค์ และสุวลี โล่วิรกรณ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของวัยแรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;11(4):1-9.
พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากร ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.2559;5(1):33–47.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, พรพรรณ มนสัจจกุล.ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ของผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินในชนบท. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563;14(35):464-82
สุภาพร จันทะกี, อรนันท์ กลันทปุระ .ปัจจัยด้านการทำงานกับผลที่มีต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 2564;23(2):13-24
ชวิศา แก้วอนันต์, วนิศรา มาชะนา, ศิรินันท์ ปุยะโท .ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2562;13(2):159-74.
อังสุมาลิณ จันทรมณี, สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์, จุฑารัตน์ สถิรปัญญา. ปัจจัยและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นหญิงในสถาบันอาชีวศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. 2560;28(2):117-29.
นพมาศ โกศล, ประนอม อุบลกาญจน์, เชาวลิต ลิ่มวิจิตรวงศ์, นิติยา ศิริแก้ว. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงานสำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังหิน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราชการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 (1600-1611). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่สงขลา; 2562.
ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, และนิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6, วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(1):257-72.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008 Dec;67(12):2072-8. doi: 10.1016/j.socscimed.2008.09.050.
Liu YB, Liu L, Li YF, Chen YL. Relationship between Health Literacy, Health-Related Behaviors and Health Status: A Survey of Elderly Chinese. Int J Environ Res Public Health. 2015 Aug 18;12(8):9714-25. doi: 10.3390/ijerph120809714.
กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฏกำจร, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2564;49(1):200-12
พัชรินทร์ มณีพงศ์, วลัยพร สิงห์จุ้ย, สัญญา สุขขำ, เพ็ชรน้อย ศรีผุดผ่อง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกบัพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 2564;4(1):84-93
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9