ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของข้าราชการชายทหารอากาศ เขตดอนเมืองกองทัพอากาศ

ผู้แต่ง

  • อุบลรัตน์ สิงหเสนี, พย.ม. ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • ชญาพัฒน์ ทองปากน้ำ, พย.ม. ภาควิชาการพยาบาลมารดา-ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • สิริพร บุญเจริญพานิช, พย.ม. ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ

คำสำคัญ:

ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการเลิกบุหรี่, ข้าราชการชายทหารอากาศ, กองทัพอากาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของบุคลากรกองทัพอากาศเพศชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการทหารอากาศชายที่เข้ารับการตรวจร่างกายประจำปี ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบแผนการสูบบุหรี่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ โดยประเมินจากแบบสอบถาม หาคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.87 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือในส่วนของปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ เท่ากับ 0.84, 0.83, 0.86 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ศึกษากับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ โดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 36.7 มีรายได้เดือนละ 10,000-19,999 บาท ร้อยละ 36.7 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 56.7 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 60.0 และปัจจุบันเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ในด้านปัจจัยนำ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีปัจจัยนำอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=4.54, SD=0.16) ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=4.33 SD=0.20) และปัจจัยเสริมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=4.54, SD=0.16) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่พบว่า ปัจจัยนำ (r=0.693) ปัจจัยเอื้อ (r=0.684) และปัจจัยเสริม (r=0.343) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรมีโปรแกรมการสร้างเสริม สนับสนุนให้คำปรึกษาและติดตามพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในข้าราชการชายทหารอากาศมากขึ้น

Author Biographies

อุบลรัตน์ สิงหเสนี, พย.ม., ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ

อาจารย์

ชญาพัฒน์ ทองปากน้ำ, พย.ม., ภาควิชาการพยาบาลมารดา-ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ

อาจารย์

สิริพร บุญเจริญพานิช, พย.ม., ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ

อาจารย์

References

World Health Organization. WHO Report on the Global Tobacco Epidemic, Monitoring Tobacco Use and Prevention Policies. Geneva: World Health Organization; 2017.

แผนกส่งเสริมสุขภาพ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ. รายงานสถิติตรวจร่างกายประจำปีของข้าราชการกองทัพอากาศประจำปี. กรุงเทพฯ: กรมแพทย์ทหารอาการ; 2563.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2561

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถานการณ์การสูบบุหรี่ในประเทศไทย. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ม.ค. 10] เข้าถึงได้จาก: http://www.surin.nso.go.th/home/index_new_doc.jsp.

สุนิดา ปรีชาวงษ์, นัยนา วงศ์สายตา, หริสร์ ทวีพัฒนา, สรัตนี แก้วคำ. การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารสุขศึกษา. 2557;37(128):15-28.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. Burlington: Academic Press; 2013.

O'Conor R, Muellers K, Arvanitis M, Vicencio DP, Wolf MS, Wisnivesky JP, Federman AD. Effects of health literacy and cognitive abilities on COPD self-management behaviors: A prospective cohort study. Respir Med. 2019 Nov-Dec;160:105630. doi: 10.1016/j.rmed.2019.02.006.

อารญา โถวรุ่งเรือง, ส่งศรี รัตนมาลาวงศ์, กาณดามณี พานแสง, ไฉไล เที่ยงกมล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจนครบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558;7(2):40-52.

จุฑารัตน์ อยู่สุขเจริญ. ปัจจัยทำนายความตั้งใจ เลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

ณรงค์ ใจเที่ยง. การรับรู้การเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2564; 14(1):37-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-06