ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ: บูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ ในการดูแลมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • วิภาดา กาญจนสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ณิชา ว่องไว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ, การบูรณาการ, การจัดการเรียนรู้, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เป็นองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการศึกษา สั่งสมประสบการณ์ และสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีชีวิต และวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม จากความสำคัญดังกล่าว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จึงได้บูรณาการองค์ความรู้เรื่องการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เข้ากับการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพที่นำมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การรับประทานอาหารสุขภาพ การอยู่ไฟ การอาบน้ำอุ่น ต้มสมุนไพร การดื่มน้ำอุ่น ต้มสมุนไพร การอบไอน้ำสมุนไพร/การเข้ากระโจม การทับหม้อเกลือ การนวดประคบด้วยสมุนไพร การนั่งถ่าน การพักผ่อนและการออกกำลังกายวิถีไทย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการดูแลสุขภาพในรูปแบบผสมผสานที่ครอบคลุมการดูแลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว ควบคู่กับการบำบัดด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ จึงถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้และมีทักษะในการดูแลมารดาหลังคลอดที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งก่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพสู่เยาวชนรุ่นหลัง ไม่ให้เลือนหายไปตามบริบททางสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปและคงอยู่กับสังคมไทยต่อไป

Author Biographies

จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิภาดา กาญจนสิทธิ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

ณิชา ว่องไว, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาจารย์

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. โครงการรวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านภาคกลาง ณ วัดพนัญเชิง. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2557-2566. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์; 2559.

จันทรมาศ เสาวรส. สืบสานภูมิปัญญาไทยของคนรุ่นใหม่:การบูรณาการภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2562;36(3):251-7.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. นโยบายส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2564. เข้าถึงได้จาก: http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Information/2017-02-06-PolicyTeacherwisdom.pdf

สมจินดา ชมพูนุท, วรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว. การบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลเลือกสรรสาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9(1):24-36.

อาจินต์ ไพรีรณ, สุทธิรา ขุมกระโทก. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการรักษาโรคและการดูแลสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.

หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์. การสังเคราะห์งานวิจัยด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสตรี.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 2562;11(21):161-73.

สมเกียรติ สุทธรัตน์, ปาริชาติ เมืองขวา. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. 2561:255-61.

รุจินาถ อรรถสิษฐ, เสาวนีย์ กุลสมบูรณ์, รัชนี จันทร์เกษ, สุพัตรา สันทนานุการ, พจีกาญจน์ จีระเสถียรพงศ์. สถานการณ์การจัดการความรู้ วิจัย ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แนวทางการให้บริการการแพทย์แผนไทยแบบบูรณาการในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

World Health Organization (WHO). Recommendations on intrapartum care for a positive childbirth experience. Geneva: World Health Organization; 2018.

Siregar M, Aritonang SM, Simbolon JL, Panggabean HW, Silalahi RH. Traditional practices in post-partum care among Indonesian and Filipino mothers: A comparative study. Iberomerican Journal of Medicine. 2021; 6(4): 241-8.

Putro BD, Murniasih AA. Study of local wisdom on the role of culture in maternal and child health in Ruteng subdistrict, Manggarai district, NTT province. Udayana Journal of Social Sciences and Humanities (UJoSSH). 2019;3(1):46-51.

Mediastari, Agung AAP. Local wisdom traditional medicine for the health and beauty of postpartum mother in Denpasar city, Bali province, Indonesia. International Journal of Health & Medical Sciences. 2020; 3(1): 65-71.

Wang Q, Fongkaew W, Petrini M, Kantaruksa K, Chaloumsuk N, Wang S. An Ethnographic study of traditional postpartum beliefs and practices among Chinese women. Pacific Rim Int J Nurs Res. 2019;23(2):142-55.

Sibeko L, Johns T. Global survey of medicinal plants during lactation and postpartum recovery: Evolutionary perspectives and contemporary health implications. J Ethnopharmacol. 2021 Apr 24;270:113812. doi: 10.1016/j.jep.2021.113812.

Bazzano AN, Stolow JA, Duggal R, Oberhelman RA, Var C. Warming the postpartum body as a form of postnatal care: An ethnographic study of medical injections and traditional health practices in Cambodia. PLoS One. 2020 Feb 6;15(2):e0228529. doi: 10.1371/journal.pone.0228529.

Das SWH, Halik A, Ahdar, Ima B. Prenatal Education Process based on local wisdom in Indonesia. Education Research International 2022; Article ID 6500362;1-10.

Talib KA, Khalid and Mohamed N. Midwives and herbal remedies: The sustainable ethoscience. Kajian Malaysia 2020; 38(1);109-131.

Ward EA, Iron Cloud-Two Dogs E, Gier EE, Littlefield L, Tandon SD. Cultural adaptation of the mothers and babies intervention for use in Tribal communities. Front Psychiatry 2022; 17(13):807432.

Mylast E. Billmon. Traditional postpartum practices in the Marshall islands: Inquiries into stigma against non-participating woman. A thesis submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of master of arts in Micronesian studies, university of Guam, the college of the Marshall Islands; 2020.

นันทศักดิ์ โชติชนะเดชาวงศ์, สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่สเทียมและยุติธรรม. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. 2560;15(1):70-86.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ; 2561.

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ชุติมา มาลัย, นิตติยา น้อยสีภูมิ, มนัสวี จำปาเทศ. การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562;20(3):44-53.

จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;15(2):240-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-08