ผลการจัดท่าอุ้มให้นมลูกและการงับอมหัวนมต่อประสิทธิภาพการดูดนมแม่ และภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
การจัดท่าอุ้มทารก, การงับอมหัวนม, ประสิทธิภาพการดูดนมบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อศึกษาผลการจัดท่าอุ้มให้นมลูกและการงับอมหัวนมต่อประสิทธิภาพการดูดนมแม่และภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดและทารก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ ดำเนินการวิจัยโดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ และเก็บข้อมูลกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คนแล้วจึงเก็บข้อมูลในกลุ่มทดลอง โดยการใช้โปรแกรมการจัดท่าอุ้มทารกและการงับอมหัวนม ตามแนวคิดการสอนแนะของ Helfer and Wilson เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดนมแม่ของทารกและประเมินภาวะตัวเหลืองจากการวัดค่าบิลิรูบิน 48 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทารกในกลุ่มทดลองมีประสิทธิภาพการดูดนมแม่ที่ 48 ชั่วโมง มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.01 (95% CI=0.111-0.212) 2) ภาวะตัวเหลืองของทารกที่ 48 ชั่วโมง โดยวัดจากค่าบิลิรูบิน ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน p=0.53 (95% CI=0.009-1.582)
ดังนั้นสรุปได้ว่าการจัดท่าอุ้มทารกตามแนวคิด การสอนแนะของ Helfer and Wilson สามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติในการส่งเสริมประสิทธิภาพการดูดนมแม่ของทารกแรกเกิดได้ดี และช่วยสนับสนุนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมของแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือนให้ประสบความสำเร็จได้
References
วาสนา งามการ, วริศนันท์ ลี้ศิริวัฒนกุล, ฐิติชญา พฤกษานุศักดิ์, ศศิธารา น่วมภา. ผลโปรแกรมการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อโดยเร็วหลังคลอดต่อประสิทธิภาพการดูดนมแม่ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2564; 38(1):67-76.
วรรษมน ปาพรม. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและแอปพลิเคชันให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง และได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561; 38(3):167-78.
นาฏตยา ศรีสวัสดิ์, นิลาวรรณ ฉันทปรีดา. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจมารดาต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563;43(3):34-44.
อุษา วงศ์พินิจ. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล. วารสารสภากาชาดไทย. 2558;8(1):24-33
Girvin J. Coaching for improving job performance and satisfaction. Nurs Times. 1999 Dec 29-2000 Jan 5;95(50):55-7.
Pasloe E, Wray M. Coaching and mentoring. London: Kogan; 2005.
Halfer RE, Wilson AL. The parent-infant relationship promoting a positive beginning through perinatal coaching. Pediatric Clinic of North America. 1982;29(2):249-60.
พรณิศา แสนบุญส่ง, วรรณดา มลิวรรณ์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีคุณภาพ: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และบทบาทพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2559;8(2):225-37.
Chiraphaet W, Chiraphaet K. Strategies for Successful Breastfeeding. Bangkok: Thammada Press; 2020.
ภาวิน พัวพรพงษ์, เกษม เรืองรองมรกต, สุทธา หามนตรี, สุขวดี เกษสุวรรณ, ศินัฐชานันท์ วงษ์อินทร์. คะแนนการเข้าเต้ากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2555;23(1): 8-14.
Sowjanya SVNS, Venugopalan L. LATCH Score as a Predictor of Exclusive Breastfeeding at 6 Weeks Postpartum: A Prospective Cohort Study. Breastfeed Med. 2018 Jul/Aug;13(6):444-449. doi: 10.1089/bfm.2017.0142.
Tangsuksan P. Breastfeeding promotion in pregnant women. Journal of Public Health Nursing. 2011;25(3):103-19.
Zhu Y, Hernandez LM, Mueller P, Dong Y, Hirschfeld S, Forman MR. Predictive Models for Characterizing Disparities in Exclusive Breastfeeding Performance in a Multi-ethnic Population in the US. Matern Child Health J. 2016 Feb;20(2):398-407. doi: 10.1007/s10995-015-1838-3. PMID: 26515468.
ปยภัสรา หรี่อินทร. ปจจัยที่มีความสัมพันธกับการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกที่คลอดในโรงพยาบาลหนองสองหอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2559;34(3):75-80
กินรี ชัยสวรรค์, ธนพร แย้มสุดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. วารสารแพทย์นาวี. 2561; 45(2):235-49.
ภาวิณี กายจนถวัลย์, สุอารีย์ อ้นตระการ. ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาและระดับบิลิรูบินในเลือดของทารกแรกเกิด. วารสารแพทย์เขต 7. 2535;11(1):15-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9