ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการปฏิเสธบำบัดทดแทนไต ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นุชกวิน สอดส่องกิจ, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ธนกมณ ลีศรี, ปร.ด. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

การปฏิเสธบำบัดทดแทนไต, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การศึกษาความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการปฏิเสธบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาภาคตัดขวางแบบวิเคราะห์ แบบมีกลุ่มควบคุม (Case-control study) โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกสิทธิการรักษาในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โดยสุ่มเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้เข้าคลินิกไตวายเรื้อรัง ระหว่าง 1 มกราคม 2563 และ 31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยว และแบบพหุถดถอยโลจิสติก

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้าสู่งานวิจัยจำนวน 171 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่รับการบำบัดทดแทนไตจำนวน 116 คน (กลุ่มควบคุม) และกลุ่มปฏิเสธบำบัดทดแทนไต จำนวน 55 คน ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการปฏิเสธบำบัดทดแทนไตมี 4 ปัจจัย คือ 1) อายุมากกว่า 65ปี (AOR=2.39 [95% CI: 1.06-5.36], p=0.035); 2) สถานภาพโสด/หย่า/หม้าย (AOR=2.18 [95% CI: 1.01-4.70], p=0.048); 3) ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ลดลง (ADL<12) (AOR=2.51 [95% CI:1.07-5.86], p=0.034) และ 4) การมีผู้ดูแลน้อยกว่า 2 คน (AOR=3.43 [95% CI: 1.50-7.88], p=0.004)

บทสรุป: ควรจัดระบบบริการเพื่อดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยดังกล่าวในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง ให้สอดคล้องกับแผนการรักษาที่ผู้ป่วยเลือกปฏิเสธบำบัดทดแทนไต หรือให้การรักษาแบบประคับประคองอย่างเป็นองค์รวม เพื่อเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้ไขปัญหาสุขภาพเป็นรายบุคคลต่อไป

Author Biographies

นุชกวิน สอดส่องกิจ, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ชำนาญการ

ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ธนกมณ ลีศรี, ปร.ด., สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

GBD Chronic Kidney Disease Collaboration. Global, regional, and national burden of chronic kidney disease, 1990-2017: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017. Lancet. 2020 Feb 29;395(10225):709-733. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30045-3.

Hill NR, Fatoba ST, Oke JL, Hirst JA, O'Callaghan CA, Lasserson DS, Hobbs FD. Global Prevalence of Chronic Kidney Disease-A Systematic Review and Meta-Analysis. PLoS One. 2016 Jul 6;11(7):e0158765. doi: 10.1371/journal.pone.0158765.

กรมการแพทย์. พบคนไทยป่วยโรคไตเรื้อรัง 8 ล้านคน [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 14] เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27749

คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือด และการกรองพลาสมา สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 14] เข้าถึงได้จาก: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2020/08/%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94_e-book_final.pdf

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท เฮลธ์ เวิร์ค จำกัด; 2557.

Park JI, Kim M, Kim H, An JN, Lee J, Yang SH, et al. Not early referral but planned dialysis improves quality of life and depression in newly diagnosed end stage renal disease patients: a prospective cohort study in Korea. PLoS One. 2015 Feb 23;10(2):e0117582. doi: 10.1371/journal.pone.0117582.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

อำนวยพร แดงสีบัว, อัจฉราวรรณ โตภาคงาม, สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์. การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข.2558; 9(2):181-91.

อภิรดี อภิวัฒน์นากร, ชิดชนก เรือนก้อน. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิเสธการฟอกไตในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561;10(2):29-43.

เกรียง ตั้งสง่า และคณะ. การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลอำเภอ และ โดยพยาบาลชุมชน ของ รพ.สต”. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค 25] เข้าถึงได้จาก: http://www.brkidney.org/download/ESCORT-2Study.pdf

Chiang PC, Hou JJ, Jong IC, Hung PH, Hsiao CY, Ma TL, Hsu YH. Factors Associated with the Choice of Peritoneal Dialysis in Patients with End-Stage Renal Disease. Biomed Res Int. 2016;2016:5314719. doi: 10.1155/2016/5314719. Epub 2016 Mar 6. PMID: 27042665; PMCID: PMC4799809.

O'Connor NR, Kumar P. Conservative management of end-stage renal disease without dialysis: a systematic review. J Palliat Med. 2012 Feb;15(2):228-35. doi: 10.1089/jpm.2011.0207.

Brown PA, Akbari A, Molnar AO, Taran S, Bissonnette J, Sood M, Hiremath S. Factors Associated with Unplanned Dialysis Starts in Patients followed by Nephrologists: A Retropective Cohort Study. PLoS One. 2015 Jun 5;10(6):e0130080. doi: 10.1371/journal.pone.0130080.

Kustimah K, Siswadi A, Djunaidi A, Iskandarsyah A. Factors affecting non-adherence to treatment in end stage renal disease (ESRD) patients undergoing hemodialysis in Indonesia. The Open Psychology Journal. 2019; 12:141-6. DOI: 10.2174/1874350101912010141.

Bernard R. Fundamentals of Biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson Learning; 2000.

Saran R, Robinson B, Abbott KC, Agodoa LYC, Bhave N, Bragg-Gresham J, et al. US Renal Data System 2017 Annual Data Report: Epidemiology of Kidney Disease in the United States. Am J Kidney Dis. 2018 Mar;71(3 Suppl 1):A7. doi: 10.1053/j.ajkd.2018.01.002. Erratum in: Am J Kidney Dis. 2018 Apr;71(4):501. PMID: 29477157; PMCID: PMC6593155.

Dahlerus C, Quinn M, Messersmith E, Lachance L, Subramanian L, Perry E, et al. Patient Perspectives on the Choice of Dialysis Modality: Results From the Empowering Patients on Choices for Renal Replacement Therapy (EPOCH-RRT) Study. Am J Kidney Dis. 2016 Dec;68(6):901-910. doi: 10.1053/j.ajkd.2016.05.010.

รสติกร ขวัญชุม, พัชรินทร์ คมขา, ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์ และ สุนิสา จันแสง. ครอบครัวกับการจัดการโรคในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;10(2):6-14.

Ahmed FA, Catic AG. Decision-Making in Geriatric Patients with End-Stage Renal Disease: Thinking Beyond Nephrology. J Clin Med. 2018 Dec 20;8(1):5. doi: 10.3390/jcm8010005.

จักรพงษ์ เฮงตระกูลเวนิช, กนกวรรณ พรมชาติ, สุชัญญา พรหมนิ่ม, นภาพร บุญยืน, จิดาพร อินทพงษ์, ภัทราภรณ์ มีศิริ และคณะ. การศึกษาแบบย้อนหลังเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ระหว่างผู้ป่วยที่ตัดสินใจปฏิเสธกับผู้ป่วยที่ยอมรับการรักษาด้วยวิธีการล้างไต. วารสารกรมการแพทย์. 2563; 45(4):111-21.

ญาณิศา สุริยะบรรเทิง, ภัควีร์ นาคะวิโร. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับการบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563;10(1): 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-06