ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ ศรีธรรัตน์กุล, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ธนกมณ ลีศรี, ปร.ด. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, การศึกษาความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

วัณโรคปอด เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาของประเทศไทย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นวัณโรคปอด ปัจจุบันระบบคัดกรองวัณโรคปอดยังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างแพร่หลายในผู้ป่วยกลุ่มนี้ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศึกษาในอำเภอพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงว่าควรนำผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างไปคัดกรองวัณโรคปอด

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยรูปแบบ Retrospective case-control study เก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยใช้แบบสอบถาม และข้อมูลจากเวชระเบียน ใช้กลุ่มผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนว่าเป็นเบาหวานอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป รับการรักษาในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาหรือในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างศึกษา (Case) คือกลุ่มผู้ที่เป็นวัณโรคปอด และกลุ่มตัวอย่างควบคุม (Control) คือกลุ่มผู้ที่ไม่เคยเป็นวัณโรคชนิดใด นำมาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression)

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยเป็นวัณโรคในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่  การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR=3.57 [95%CI 1.18-10.79]), ระดับ HbA1C มากกว่า 8.5% (AOR=2.53 [95%CI 1.93-6.89]), การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค (AOR 4.78 [95%CI 1.45-15.72]) และการมีจำนวนสมาชิกในบ้านเดียวกันมากกว่า 4 คน (AOR=2.73 [95%CI 1.15-6.49])

จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าควรมีการตรวจคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้สม่ำเสมอทุกปี และส่งเสริมความรู้เรื่องวัณโรคปอด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีประวัติดื่มสุราหรือของมึนเมา มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค และกลุ่มที่มีระดับ HbA1C มากกว่า 8.5%

Author Biographies

ณัฐพงศ์ ศรีธรรัตน์กุล, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ชำนาญการ

ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ธนกมณ ลีศรี, ปร.ด., สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2561.

Liu Y, Jiang S, Liu Y, Wang R, Li X, Yuan Z, Wang L, Xue F. Spatial epidemiology and spatial ecology study of worldwide drug-resistant tuberculosis. Int J Health Geogr. 2011 Aug 3;10:50. doi: 10.1186/1476-072X-10-50.

Coker R, McKee M, Atun R, Dimitrova B, Dodonova E, Kuznetsov S, Drobniewski F. Risk factors for pulmonary tuberculosis in Russia: case-control study. BMJ. 2006 Jan 14;332(7533):85-7. doi: 10.1136/bmj.38684.687940.80.

Hansel NN, Wu AW, Chang B, Diette GB. Quality of life in tuberculosis: patient and provider perspectives. Qual Life Res. 2004 Apr;13(3):639-52. doi: 10.1023/B:QURE.0000021317.12945.f0.

Geerlings SE, Hoepelman AI. Immune dysfunction in patients with diabetes mellitus (DM). FEMS Immunol Med Microbiol. 1999 Dec;26(3-4):259-65. doi: 10.1111/j.1574-695X.1999.tb01397.x.

World Health Organization. Systematic screening for active tuberculosis: an operational guide. Geneva, Switzerland: WHO Press; 2015: 1-66.

Zhang CY, Zhao F, Xia YY, Yu YL, Shen X, Lu W, et al. Prevalence and risk factors of active pulmonary tuberculosis among elderly people in China: a population based cross-sectional study. Infect Dis Poverty. 2019 Jan 18;8(1):7. doi: 10.1186/s40249-019-0515-y.

Bhat J, Rao VG, Sharma RK, Muniyandi M, Yadav R, Bhondley MK. Investigation of the risk factors for pulmonary tuberculosis: A case-control study among Saharia tribe in Gwalior district, Madhya Pradesh, India. Indian J Med Res. 2017 Jul;146(1):97-104. doi: 10.4103/ijmr.IJMR_1029_16.

Lertsakulbunlue S, Kunsuwan P, Rangsin R, Sakboonyarat B. Pulmonary tuberculosis mortality and its risk factors among patients with type 2 diabetes and pulmonary tuberculosis in four community hospitals, central Thailand. J Southeast Asian Med Res. 2022:6(1):e0120.

Destiany C, Zulkifli A, Thaha RM, Mallongi A, Astuti RD. Risk factor of pulmonary tuberculosis among people with diabetes mellitus in Makassar. First International Conference on Nutrition and Public Health (ICNPH-2019). 2020;30(S4):269-72.

Khalil NH, Ramadan RA. Study of risk factors for pulmonary tuberculosis among diabetes mellitus patients. Egyptian Journal of Chest Diseases and Tuberculosis. 2016;65(4):817-23.

Ji Y, Cao H, Liu Q, Li Z, Song H, Xu D, Tian D, Qiu B, Wang J. Screening for pulmonary tuberculosis in high-risk groups of diabetic patients. Int J Infect Dis. 2020 Apr;93:84-89. doi: 10.1016/j.ijid.2020.01.019.

สมพร ขามรัตน์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 2558;22(1):22-32.

จตุพร ฤกษ์ตระกูล, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ป่วยเบาหวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2562;26(3):1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-07