ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน คลินิกหมอครอบครัว หน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย โคตรบรรเทา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มกราพันธุ์ จูฑะรสก สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, คลินิกหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคลินิกหมอครอบครัว หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ศึกษา คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 584 คน การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 คน และทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 ทุกข้อ และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช 0.96 และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2565-8 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการปฏิบัติงานคลินิกหมอครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.732, p-value<0.001 และ r=0.730, p-value<0.001) ตามลำดับ ตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปรประกอบด้วย ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการและปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยบริการระดับปฐมภูมิกับโรงพยาบาลแม่ข่าย สามารถร่วมกันในการพยากรณ์การปฏิบัติงานคลินิกหมอครอบครัวหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 66.0 (R2=0.660, p-value<0.001)

Author Biographies

ณัฐดนัย โคตรบรรเทา, หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษา

มกราพันธุ์ จูฑะรสก, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์

ประจักร บัวผัน, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์

References

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข; 2559

สำนักการบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือทีมหมอครอบครัว.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ศุภกิจ ศิริลักษณ์, ลัดดา ดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษม เวชสุทธานนท์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาประจำปี 2565. (เอกสารอัดสำเนา). นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.สรุปตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564. (เอกสารอัดสำเนา).นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. กลุ่มงานการสาธารณสุขมูลฐานและระบบสุขภาพปฐมภูมิ. ทะเบียนข้อมูลเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ.(เอกสารอัดสำเนา).นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2565.

Cohen J. Statistical power analysis for behavior science. 2nd ed. New York: Academic; 1988.

Likert R. The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill; 1967.

โกศล ศิริจันทร์, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขศาลาของผู้อำนวยกาiโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2559;9(2):252-63.

ศรัณยา พันธุ์โยธา, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564;21(2):152-65.

จรัสศรี อาจศิริ. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 2564;4(2):57-68.

นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์จูฑะรสก. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563;20(2):84-95.

เปรมากร หยาดไธสง, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2565;22(2):175-88.

ทศพล ใจทาน, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564;21(3):161-71.

วิลาสินี วงค์ผาบุตร, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้และมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564:21(3): 186-99.

เพ็ญนภา ชาดี, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านทันตกรรมป้องกันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 2562;30(1):92-102.

ทิพรฎาร์ คุยแก้วพะเนาว์, ชนะพล ศรีฤาชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;11(4): 47-57.

พีรภัทร ไตรคุ้มดัน, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบ ฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (HOSxP_PCU) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561;25(2): 90-102.

ปภินวิทย์ คำสมาน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564;21(3):223-35.

สุทธิยา เบ้าวัน, ประจักร บัวผัน. การสนับสนุนจากองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562;22(2):237-48.

กัญญารัตน์ จันทร์โสม, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563;20(2):60-71.

ไพวัน แก้วปะเสิด, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐเขตนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563;20(2):96-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-12