โรคหนอนพยาธิในพื้นที่อ่างเก็บน้ำลำชี จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
หนอนพยาธิ, สัตว์รังโรค, โฮสต์กึ่งกลาง, อ่างเก็บน้ำลำน้ำชีบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิในประชาชน สัตว์รังโรค และโฮสต์กึ่งกลางในธรรมชาติ โดยสำรวจกำหนดจุดพิกัดเก็บตัวอย่างและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ผลกระทบอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี จังหวัดชัยภูมิ สุ่มเก็บตัวอย่างอุจจาระประชาชน จำนวน 333 ตัวอย่าง ตรวจหาไข่และตัวอ่อนหนอนพยาธิด้วยวิธี Formalin–ether concentration ในมูลสัตว์รังโรคตรวจด้วยวิธี Formalin-ether concentration ร่วมกับวิธี Floating and sedimentation ตรวจหาตัวอ่อนพยาธิใบไม้ในโฮสต์กึ่งกลางจากธรรมชาติคือ หอยน้ำจืด ด้วยวิธี Shedding และ Crushing ส่วนปลาน้ำจืดเกล็ดขาว ตรวจด้วยวิธี Digestion
ผลการศึกษาพบว่า อัตราการพบโรคหนอนพยาธิในกลุ่มตัวอย่างประชาชนร้อยละ 10.5 กินอาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดที่ปรุงไม่สุก ร้อยละ 25.5 สัตว์รังโรคคือ สุนัข แมว โค และกระบือ มีอัตราพบโรคหนอนพยาธิที่สามารถก่อโรคในคนร้อยละ 66.7, 75.0, 42.0 และ 63.3 ตามลำดับ พบตัวอ่อนพยาธิใบไม้ในหอยน้ำจืดร้อยละ 1.1 และพบตัวอ่อนพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็กระยะติดต่อในปลาน้ำจืดเกล็ดขาว ร้อยละ 1.2 การศึกษานี้ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับของคน (Opisthorchis viverrine) ในอุจจาระประชาชน และตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับของคนระยะติดต่อในปลาน้ำจืดเกล็ดขาว ซึ่งเป็นพยาธิที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการก่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีในคนไทย โคมีอัตราการติดพยาธิชนิด strongyle กระบือมีอัตราการติดพยาธิชนิด rumen fluke และอัตราการติดโปรโตซัวกลุ่ม coccidia สุนัขและแมวมีมีอัตราการติดพยาธิชนิด hookworm สูง ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุข ปศุสัตว์ ตลอดจนท้องถิ่นควรตระหนักเรื่องนี้และให้ความรู้แก่ประชาชนในการบริโภคอาหารจากหอยและปลาที่ปรุงสุกเท่านั้น
References
กองโรคติดต่อทั่วไป. รายงานการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวในลำไส้ของประเทศไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. รายงานสถานการณ์ การติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับในเขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: กรมควบคุมโรค; 2564.
ธิดารัตน์ บุญมาศ. ปลาร้า ปลาส้ม ปลอดภัย ปลอดพยาธิ ปราศจากมะเร็งท่อน้ำดี ได้อย่างไร? วารสารโครงการ CASCAP โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2559;2(6),8-12.
Wane WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). Hoboken, NJ: John wile & Sons; 1995.
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ .นนทบุรี: กรมอนามัย; 2565
เกษตร ปะที. ความชุกและปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเกิด โรคหนอนพยาธิของประชาชน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน พ.ศ. 2559. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 2560;12(4):36-42.
Enes JE, Wages AJ, Malone JB, Tesana S. Prevalence of Opisthorchis viverrini infection in the canine and feline hosts in three villages, Khon Kaen Province, northeastern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2010 Jan;41(1):36-42.
Epe C. Helminths in the dog and cat. Kleintierpraxis 2011;56(3):136–154.
Beck W, Pantchev N. Helminthiasis in the dog and cat–Species spectrum, incidence and deworming strategies. Kleintierpraxis 2008;53(1):30-44.
Enes JE, Wages AJ, Malone JB, Tesana S. Prevalence of Opisthorchis viverrini infection in the canine and feline hosts in three villages, Khon Kaen Province, northeastern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2010 Jan;41(1):36-42.
สุธีวงศ์ มณีประทีป, พรเทพ เนียมพิทักษ์. การสํารวจพยาธิใบไม้ตับในหอยฝาเดียวและปลาในพื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อนอุบลรัตน์. แก่นเกษตร. 2556;ฉบับพิเศษ:438-45.
ชไมพร วรจักร, จตุรพร ป้องกัน, วินัย พิมพานิช, ฉัตรสุมาลย์ ศรีมงคล, วันประเสริฐ ทุมพะลา. การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับระยะเซอร์คาเรียของหอยน้ำจืดสกุล Bithynia Leach .ในแม่น้ำชีบริเวณอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2556;8:414-8.
Sripa B, Kaewkes S, Sithithaworn P, Mairiang E, Laha T, Smout M, Pairojkul C, Bhudhisawasdi V, Tesana S, Thinkamrop B, Bethony JM, Loukas A, Brindley PJ. Liver fluke induces cholangiocarcinoma. PLoS Med. 2007 Jul;4(7):e201. doi: 10.1371/journal.pmed.0040201.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9