ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ ต่อระดับความรู้เรื่องโรคและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีอายุ 30–60 ปี ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
มะเร็งปากมดลูก, การตรวจคัดกรอง, โปรแกรมส่งเสริมความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้เกี่ยวกับโรคและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ก่อนและหลังใช้โปรแกรมส่งเสริมความรู้เรื่องโรคและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับสตรีอายุ 30–60 ปี ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทำการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย คือโปรแกรมการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ประกอบด้วยแผนการสอน การสาธิตวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง และสื่อวิดิทัศน์ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.84 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบวัดความรู้เรื่องโรคและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.70
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็มทั้งก่อนและหลังได้รับโปรแกรม เมื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้ของสตรีกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ พบว่าหลังได้รับโปรแกรมมีระดับคะแนนความรู้เรื่องโรค ( ก่อนเท่ากับ 7.13 และหลังเท่ากับ 8.78, SD=0.18) และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม ( ก่อนเท่ากับ 2.13 และหลังเท่ากับ 2.50, SD=0.54) อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมความรู้สามารถเพิ่มระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นควรนำโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ไปใช้ในการให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สตรีมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
References
World Health Organization (WHO). Cervical cancer. [Online] 2019 [cited 2023 Mar 15] Available from: https://www.who.int/health-topics/cervical-cancer#tab=tab_1.
World Health Organization (WHO). Estimated number of new cases in 2020, World, females, all ages (excl. NMSC). [Online] 2020 [cited 2023 Mar 15] Available from: https://gco.iarc.fr/today/online-analysis-table?v=2020&mode=cancer&mode_population=continents&population=900&populations=900&key=asr&sex=2&cancer=39&type=0&statistic=5&prevalence=0&population_group=0&ages_group%5B%5D=0&ages_group%5B%5D=17&group_cancer=1&include_nmsc=0&include_nmsc_other=1
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต] 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 15] เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2564/index.html.
มะลิ จารึก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยง ตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564; 13(1): 100-113.
สุวิมล สอนศรี, ทวาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, และ ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล. 2564;70(3):11–9.
งานข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศและประเมินผล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. ความครอบคลุมการการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจังหวัดร้อยเอ็ด. เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการยุทธศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 8 มีนาคม 2565; 2565.
พรรณี ปิ่นนาค. เหตุผลและปัจจัยของการไม่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : กรณีศึกษาสตรีอายุ 30-60 ปี ในตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2563; 3(1):118–31.
Jia Y, Li S, Yang R, Zhou H, Xiang Q, et al. Knowledge about Cervical Cancer and Barriers of Screening Program among Women in Wufeng County, a High-Incidence Region of Cervical Cancer in China. Plos ONE 2013; 8(7): e67005. doi:10.1371/journal.pone.0067005.
จันทนี แต้ไพสิฐพงษ์, ณัฐวุฒิ กันตถาวร. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อระดับความรู้และทัศนคติในสตรีที่มีผลที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารสภาการพยาบาล. 2556; 28(2):75-87.
สุคนธ์ ไข่แก้ว, ชูชื่น ชีวพูนผล, คณิตรา พฤทธสาโรช. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพป้องกันมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัยทำงาน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2556;14(3):8-13.
Nutbeam D. Defining, measuring and improving health literacy. HEP. 2015;42(4):16-22.
สินีนาท วราโภค, เอมพร รตินธร, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดาในสตรีตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล. 2563;35(1): 86-98.
Ersin F, Bahar Z. Effects of Nursing Interventions Planned with the Health Promotion Models on the Breast and Cervical Cancer Early Detection Behaviors of the Women. International Journal of Caring Sciences. 2017;10(1):421-31.
Thulaseedharan JV, Frie KG, Sankaranarayanan R. Challenges of health promotion and education strategies to prevent cervical cancer in India: A systematic review. J Educ Health Promot. 2019 Nov 29;8:216. doi: 10.4103/jehp.jehp_156_19.
พุฒิตา พรหมวิอินทร์, โยทะกา ภคพงศ์, มยุรี นิรัตธราดร. การเปรียบเทียบความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดสมุทรปราการ. พยาบาลสาร. 2558; 42(3):84-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9