ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียน ของนิสิตมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • สุภิศา ขำอเนก, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • ยุวดี งอมสงัด, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • อภิสรากรณ์ หิรัณย์วิชญกุล, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความสุข, นิสิต, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 468 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์ ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (SD=0.38) เมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่าปัจจัยด้านครอบครัว มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 (SD=0.47) ปัจจัยด้านสถานศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนิสิต มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.59 (SD=0.55) ส่วนปัจจัยด้านส่วนตัวพบว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือเท่ากับ 4.55 (SD=0.46) ส่วนความสัมพันธ์กับความสุขในการเรียนของนิสิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตบุรีรัมย์ คือปัจจัยด้านส่วนตัว  ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อน โดยมีความสัมพันธ์กับความสุขในการเรียนของนิสิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.084) และปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความสุขในการเรียนของนิสิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์ คือความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (β=0.112) และความสัมพันธ์กับเพื่อน (β=-0.187) สามารถพยากรณ์ความสุขของนิสิตได้ร้อยละ 38.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้องในการนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมให้นิสิตได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Author Biographies

กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

สุภิศา ขำอเนก, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

ยุวดี งอมสงัด, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

อภิสรากรณ์ หิรัณย์วิชญกุล, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

References

ปัทมา ทองสม. การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2554;4(1):88-111.

ปาณิสรา เบี้ยมุกดา. แนวทางการออกแบบนวัตกรรมระบบการศึกษายั่งยืนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาแนวคิดและมุมมองของสตีฟ จอบส์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2558;3(2):133-45.

นัฐนรี ศรีชัย, กรฎา มาตยากร, จิระวัฒน์ ตันสกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2565;10(1):177-91.

Townsend MC. Essentials of Psychiatric Mental Health Nursing: Concepts of care In Evidence-base practice.s (5th ed). Philadelphia: FA Davis Company; 2011.

อภิชัย คุณีพงษ์, ศศิธร ตันติเอกรัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในสถาบันการศึกษากับความสุขในการเรียนรู้ ของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2560;10(1):64-77.

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, นฤมล จันทรเกษม. ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2560; 5(1):358-369.

Timmins F, Kaliszer M. Aspects of nurse education programmes that frequently cause stress to nursing students -- fact-finding sample survey. Nurse Educ Today. 2002 Apr;22(3):203-11. doi: 10.1054/nedt.2001.0698.

ปราณี อ่อนศรี, สายสมร เฉลยกิตติ. การจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาลเพื่อสร้างความสุข: บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2556;14(1):8-16.

ยุพา วงศ์รสไตร, วราภรณ์ ดีน้ำจืด. ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2563;13(1):43-57.

เทียนทอง หาระบุตร, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, สุระพรรณ พนมฤทธิ์, พัชรา สมชื่อ, นิรมัย คุ้มรักษา, ดารุณี งามขำ. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วารสารเกษมบัณฑิต. 2562;20(2):68-80.

จีรทัช ใจจริง, ธนิต โตอดิเทพย์, ภารดี อนันต์นาวี, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563;28(1):29-47.

ณรงค์กร ชัยวงศ์. การศึกษาความเครียด สาเหตุความเครียด ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://oldweb.western.ac.th/media/attachments/2018/06/22/7-3.pdf

อโณทัย ธีระทีป. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. [วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.2561.

นิตยากร ลุนพรหม, อุมาพร เคนศิลา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความสุขของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://mis.ratchathani.ac.th/file_re/2Gk86DIThu14938.pdf

สุชีรา วิบูลย์สุข, นิตยาภรณ์ บุญสวัสดิ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นปรีคลินิก. วารสารเวชบันทึกศิริราช. 2558;8(2):70-6.

รุ่งนภา กุลภักดี, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการเรียนรู้อย่างมีความ สุขของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9(2):115-27.

อภิสรา จังพานิช, อรชร ศรีไทรล้วน. ผลของการใช้วีดิทัศน์แบบแผนการดูแลผู้ป่วยประจำาวันต่อความมั่นใจในการ ปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยและความพึงพอใจ ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์. 2558;22(1):17-34.

ณภัทรารัตน์ ขาวสอาด, มณี อาภานันทิกุล, อรชร ศรีไทรล้วน. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล. 2556;28(1):19-33.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์, เบญจวรรณ พิททาร์ด. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี. วารสารเกื้อการุณย์. 2559;23(1):7-20.

ศิริพร ทองย้อย. ความสุขและแนวทางเสริมสร้างความสุขในการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนธัญรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

ชัยวัฒน์ พันธุ์เสือ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต1 [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2554/100842/chapter5.pdf

ปัทมา แป้นพุดเย็น. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดกำแพงเพชร. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์; 2557.

จักรกฤษณ์ ผูกจิตร, อรพรรณ อุดมพร. ปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2565; 23(1):101-10.

รวิวรรณ คำเงิน, รุ่งนภา จันทรา. ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาพยาบาล ในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาล. 2554;60(3):21-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-31