ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วของประชาชน ในเขตเทศบาลนครแม่สอด ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พิมพิภา ทิหวาย สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อนัญญา ประดิษฐปรีชา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กุลธิดา บรรจงศิริ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

หน้ากากอนามัย, พฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัย, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประมาณการการใช้หน้ากากอนามัย ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ของประชาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลนครแม่สอด จำนวน 435 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการการประมาณการการใช้หน้ากากอนามัยของประชาชน และสถิติการถดถอยลอจิสติกเชิงอันดับ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว

ผลการวิจัยพบว่าจากการประมาณการการใช้หน้ากากอนามัยของประชาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอดในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 มีการใช้หน้ากากอนามัยถึง 66,732 ชิ้นต่อวัน กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วอยู่ในระดับสูง และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ จำนวนหน้ากากอนามัยที่ใส่มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ชิ้นต่อวัน (OR: 3.21, 95%CI: 1.26-8.17) และทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วระดับดี (OR: 3.12, 95%CI: 1.55-6.27) ดังนั้นควรจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้
เกี่ยวกับการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วอย่างถูกวิธี เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว

Author Biographies

พิมพิภา ทิหวาย, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา

อนัญญา ประดิษฐปรีชา, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อาจารย์

กุลธิดา บรรจงศิริ, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 31]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดตาก. ข้อมูลสถานการณ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 31]. เข้าถึงได้จาก: https://covid.takpho.go.th/

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรคขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18373&deptcode=brc

กรมอนามัย. คำแนะนำการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th/th/download.php

กุญกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. หน้ากากอนามัยกับการป้องกัน COVID-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.พ. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/sirirajdoctor/article_detail.aspx?ID=1419

ศิริพร คำวานิล, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. ขยะมูลฝอยในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เป็นอย่างไร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2563;34(2):144-57.

กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์, วิชสิณี วิบูลผลประเสริฐ. ฮาวทูทิ้ง หน้ากากอนามัยให้ปลอดภัยต่อสังคม. Green Network Magazine [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.พ. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://www.greennetworkthailand.com/ฮาวทูทิ้ง-หน้ากากอนามัย

ตรีรักษ์ กินวงษ์. พฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม]. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2563.

Sangkham S. Face mask and medical waste disposal during the novel COVID-19 pandemic in Asia. Case Studies in Chemical and Environmental Engineering. 2020; 2:100052.

เทศบาลนครแม่สอด. ปริมาณขยะติดเชื้อที่คัดแยกได้จากสถานีกำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครแม่สอด. ตาก : กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครแม่สอด; 2564

Daniel WW. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed). John Wiley & Sons, Inc.; 1995: 177-178.

Nzediegwu C, Chang SX. Improper solid waste management increases potential for COVID-19 spread in developing countries. Resources, conservation, and recycling. 2020; 161:104947.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์; 2553

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, Inc; 1977

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน. หน้ากากอนามัยสำคัญอย่างไรต่อการป้องกันไวรัสโคโรนา [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: http://49.231.15.21/deptweb/cDownload.php/?DL_ID=656&DL_NAME=HEF256302241021345081.pdf

สวรรยา ธรรมอภิพล, จารุมนต์ ดิษฐ์ประพัตร์, ปภาอร กลิ่นศรีสุข. ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะติดเชื้อประเภท หน้ากากอนามัยของชุมชนบ้าน กลาง-ไผ่ ขาด จังหวัดนครปฐม ในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 2564;6(1):37-50.

ฮุสนา โรมินทร์. การศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในคลินิก จังหวัดภูเก็ต [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์, จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2561;12(1):180-90.

กานดา ปุ่มสิน, ทอแสง พิมพ์เบ้าธรรม, นลพรรณ เจนจำรัสฤทธิ์. การศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี. 2564;1(2):10-22.

ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ. ทัศนคติและพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของ นักศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 2553;9(2):55-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09