ผลของโปรแกรมการสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วม ต่อประสิทธิผลการส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จณิสตา ป้องคำลา โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
  • อารี บุตรสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วม, ประสิทธิผลของการส่งต่อ, การมีส่วนร่วม, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วมต่อประสิทธิผลการส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 25 คน รวม 50 คน กลุ่มทดลอง คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานส่งต่อในโรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานส่งต่อในโรงพยาบาลนาจะหลวย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่าง 1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้ Paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เรื่องการส่งต่อผู้ป่วย การมีส่วนร่วมในการส่งต่อผู้ป่วย การประสานงานส่งต่อผู้ป่วย ความถูกต้องในการส่งต่อผู้ป่วย ความทันเวลาในการส่งต่อผู้ป่วย และความพึงพอใจต่อโปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองแสดงว่าโปรแกรมการสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วมต่อประสิทธิผลการส่งต่อผู้ป่วยมีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Author Biographies

จณิสตา ป้องคำลา, โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

อารี บุตรสอน, วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

พิมพ์กษมา ศรีชาติธนวัต, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วยหนัก ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก. พุทธชินราชเวชสาร. 2561;35(2):175-86.

Ross J, Tu S, Carini S, Sim I. Analysis of eligibility criteria complexity in clinical trials. Summit Transl Bioinform. 2010 Mar 1;2010:46-50.

โรงพยาบาลน้ำยืน. สรุปผลการดำเนินงานประจำรอบปี 2565 ของโรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี; 2565.

Joint Commission Accreditation of Healthcare organization (JCAHO). Implementing the SBAR Technique. Patient Safety. Toronto Rehabilitation Institute 6 [Internet]. 2006 [cited 2022 Jun. 18]. Available from: http://opm.gov/insure/health/planinfo/safety

Leonard M, Bonacurth D, Graham S. SBAR for improve communication: Quality tool in practice [Internet]. 2006 [cited 2022 Jun. 22]. Available from: www.cdha.nshealth.ca/

Markley J, Winbery S. Communicating With Physicians: How Agencies Can Be Heard. Home Health Care Management & Practice. 2008; 20(2):161-8. doi:10.1177/1084822307306632

พิมประพรรณ สถาพรพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทั่วไป 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

กฤษณา สิงห์ทองวรรณ. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. [รายงานการศึกษาอิสระ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

มนนพรัฐ อุเทน. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลนครเชียงใหม่. [รายงานการศึกษาอิสระ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

โรงพยาบาลน้ำยืน. รายงานสภาพ และปัญหาของโรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี; 2565.

Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK. Adequacy of Sample Size in Health Studies. Hoboken, NJ: Wiley; 1990.

กรรณิกา ธนไพโรจน์, สุคนธ์ ไข่แก้ว, สมพันธ์ หิญชีระนันท์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2561;14(1):9-24.

นงลักษณ์ ขัดแก้ว. ผลของแนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยผู้ป่วยโรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2561; 26(1):8-22.

ชัญญาภัค วิจารณ์. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยจากอุบัติเหตุทางถนน ณ จุดเกิดเหตุ โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(4):219-29.

พรพิไล นิยมถิ่น, อารี ชีวเกษมสุข, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558;35(1):46-54.

พรพิไล นิยมถิ่น. ผลของการใช้แบบการบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นต่อคุณภาพการส่งต่อและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจังหวัดเลย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2561;26(3):135-43.

วรรณา กรีทอง, กรรณิการ์ สุวรรณโคตร, เพ็ญจันทร์ ส. โมไนยพงศ์. การพัฒนาระบบการบริหารการรับ และการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2559; 12(1):23-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-02