ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพระสงฆ์และสามเณร อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • มนันญา ผลภิญโญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ลำพึง วอนอก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พระสงฆ์และสามเณร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของพระสงฆ์และสามเณร อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 354 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Multiple logistics regression นำเสนอค่า Adjusted odds ratio พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% Confidence interval (CI) และ p-value กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์และสามเณรมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับดี ร้อยละ 67.51 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ อายุ 20 ปีขึ้นไป (Adjusted OR=2.71, 95% CI=1.43 ถึง 5.12; p-value=0.002)  ทัศนคติระดับมาก (Adjusted OR=5.92, 95% CI=3.53 ถึง 9.96; p-value<0.001) และความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอและเป็นเลิศ (Adjusted OR=2.48, 95% CI=1.46 ถึง 4.21; p-value=0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการเสริมสร้างทัศนคติและความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่พระสงฆ์และสามเณร อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ดีในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคระบาดอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Author Biographies

มนันญา ผลภิญโญ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

ธีรศักดิ์ พาจันทร์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

ลำพึง วอนอก, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

References

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่1) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 16]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8115

Worldometers. COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC [serial online]. 2565 [Retrieved 2022 Jan 10]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศ (อัพเดทรายวัน) [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=analysis-province

งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลชุมแพ. สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลชุมแพ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 19] เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/chumphaehospitalofficial

กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวสารเพื่อมวลชล [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 16]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/index/2/04

ธมนวรณ ชูราษฎร์, กนิษฐา พิมพ์จันทร์, พัชรี บังคมเนตร, ศศิกานต์ จมเชยชื่น, อรอมล เหล่าราช, กฤษณะ เจริญลาภ และคณะ. พฤติกรรมป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่บ้านดอกบัว ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2565;11(1):96-107.

จิตรา มูลทิ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย.วารสารวิชาการสำนักงานควบคุมโรคที่ 9. 2564;27(2):5-14.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบล ปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):597-604.

Lastrucci V, Lorini C, Del Riccio M, Gori E, Chiesi F, Moscadelli A, Zanella B, Boccalini S, Bechini A, Puggelli F, Berti R, Bonanni P, Bonaccorsi G. The Role of Health Literacy in COVID-19 Preventive Behaviors and Infection Risk Perception: Evidence from a Population-Based Sample of Essential Frontline Workers during the Lockdown in the Province of Prato (Tuscany, Italy). Int J Environ Res Public Health. 2021 Dec 19;18(24):13386. doi: 10.3390/ijerph182413386.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพระจอมเกล้า. 2564;4(1):33-48.

Sørensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, Brand H; (HLS-EU) Consortium Health Literacy Project European. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012 Jan 25;12:80. doi: 10.1186/1471-2458-12-80.

ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, กรรณิกา เจิมเทียนชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วงมีการระบาดปี 2564 และในไตรมาสแรกของ ปี 2565. วชิรสารการพยาบาล. 2565;24(2):70-84.

หยาดพิรุณ ศิริ, อธิวัต อาจหาญ, นิรชร ชูติพัฒนะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารควบคุมโรค. 2565;48(3):493-504.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998 Jul 30;17(14):1623-34. doi: 10.1002/(sici)1097-0258(19980730)17:14<1623::aid-sim871>3.0.co;2-s.

วิชัย เทียนถาวร, ณรงค์ ใจเที่ยง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;4(2):126-37.

Bloom BS. Handbook on formation and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Best JW. Research in Education. (3rd ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1977.

Toçi E, Burazeri G, Sørensen K, Kamberi H, Brand H. Concurrent validation of two key health literacy instruments in a South Eastern European population. Eur J Public Health. 2015 Jun;25(3):482-6. doi: 10.1093/eurpub/cku190.

วงศา เล้าหศิริวงศ์. การประเมินคุณภาพบทความวิจัยด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงร่างวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2560.

Tavakol M, Dennick R. Making sense of Cronbach's alpha. Int J Med Educ. 2011 Jun 27;2:53-55. doi: 10.5116/ijme.4dfb.8dfd. PMID:

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัชสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(2):31-9.

สมศรี สัจจะสกุลรัตน์, ธานี กล่อมใจ, พระครูพิศาลสรกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจการสงฆ์ ของเจ้าอาวาส ในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 2564; 22(2):125-37.

ธวัชชัย ยืนยาว, ไวยพร พรมวงค์, กัลยารัตน์ คาดสนิท. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติด เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาพยาบาลในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564; 29(2), 204-213.

ภัทรนุช วิทูรสกุล, ชญาภา ชัยสุวรรณ, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาล. 2564;39(4):41-54.

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฎกำจร, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2565;49(1); 200-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-06