ผลประเมินตนเองเกี่ยวกับการจัดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของคลินิกหมอครอบครัวเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พื้นที่เขตเทศบาลนคร

ผู้แต่ง

  • จินดา คำแก้ว, ส.ม. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การประเมินตนเอง, การจัดบริการดูแลสุขภาพ, คลินิกหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง ในกลุ่มบุคลากรสุขภาพปฏิบัติงานคลินิกหมอครอบครัว เครือข่ายบริการสุขภาพชยางกูร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานีที่สมัครใจเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 54 คน ด้วยเครื่องมือตามกรอบแนวคิดของ Primary Care และ Chronic Care Model (CCM) ที่ประเมินความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ (IOC=0.8) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการประเมินด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงาน PCU ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.3 อายุเฉลี่ย 44.4 ปี (SD=9.85) มีประสบการณ์ทำงานปฐมภูมิเกิน 3 ปี (gif.latex?\bar{X}=7.69 SD=5.72) ทำหน้าที่ผู้ให้บริการ/ร่วมให้บริการ กลุ่มตัวอย่างประเมินตนเองตามแบบประเมินกระบวนการจัดบริการ 5 ด้านตามแนวคิดของ CCM โดยรวม ด้านคุณภาพของกระบวนการหลัก ระดับ B (79.6%) gif.latex?\bar{X}=6.40 (SD=1.44) ด้านคุณภาพของกระบวนการสนับสนุน ระดับ B (51.9%) gif.latex?\bar{X}=7.18 (SD=1.39) ปัญหาอุปสรรคในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ คือสหวิชาชีพมีภาระงานมากเมื่อเทียบอัตรากำลัง ตัวชี้วัดกระทรวงไม่ตอบบริบทของชุมชน ระบบการบริหารงบประมาณยังเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลแม่ข่าย สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน และข้อจำกัดของเครื่องมือทางการแพทย์ แต่บรรยากาศการทำงาน มีความอิสระ มีความร่วมมือกันอย่างดีของสหวิชาชีพ ส่วนพัฒนาของระบบสนับสนุนจากองค์กรแม่ข่าย คือทบทวนกระบวนการจัดการเรียนรู้การสื่อสารร่วมกันอย่างต่อเนื่องและชัดเจน รวมทั้งออกแบบแนวปฏิบัติระบบการดูแลสุขภาพให้ชัดเจน

จากผลการศึกษา ควรยึดหลักออกแบบเพื่อจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของคลินิกหมอครอบครัวตามบริบทของกลุ่มเป้าหมายและศักยภาพทีมสหวิชาชีพ และมีการสื่อสารกันระหว่างสหวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และมีอิสระในการบริหารจัดการคลินิกหมอครอบครัว

Author Biography

จินดา คำแก้ว, ส.ม., วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2561.

CAPHC Complex Care Community of Practice. CAPHC Guideline for the Management of Medically Complex Children and Youth Through the Continuum of Care. [Internet]. 2018 [cited 2019 Oct. 20]. Available from: https://hl-prod-ca-oc-download.s3-ca-central-1.amazonaws.com/CNA/66561cd1-45c8-41be-92f6-e34b74e5ef99/UploadedImages/documents/CAPHC_National_Complex_Care_Guideline_2018_final.pdf

พิมพิมล วงศ์ไชยา, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, พินทอง ปินใจ. การดูแลที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง: บริการสุขภาพในศตวรรษที่ 21. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(ฉบับพิเศษ):S361-S371.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในบริการปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2559; 30(1):113-26].

Starfield B. Is patient-centered care the same as person-focused care? Perm J. 2011 Spring;15(2):63-9. doi: 10.7812/TPP/10-148.

ดวงดาว ศรียากูล, บวรศม ลีระพันธ์, เกวลิน ชื่นเจริญสุข. แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพ (Service Plan) ระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Integrated, People-centered Primary Care). นนทบุรี: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง; 2563.

Wagner EH, Austin BT, Davis C, Hindmarsh M, Schaefer J, Bonomi A. Improving chronic illness care: translating evidence into action. Health Aff (Millwood). 2001 Nov-Dec;20(6):64-78. doi: 10.1377/hlthaff.20.6.64.

สุรินทร์ กู้เจริญประสิทธิ์, พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. การจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตเมือง กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2560. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(2):182-90].

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงค์สวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยวงศ์ ไพศาล, วรสิทธิ์ศรศรีวิชัย, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล. โครงการวิจัยดำเนินการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง[อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 19]; เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5210?locale-attribute=th

World Health Organization. Global strategy on integrated people-centred health services 2016-2026. Executive Summary. Geneva, Switzerland: the WHO Document Production Services; 2015 [Cited 2021 Jan. 26]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/155002/WHO_HIS_SDS_2015.6_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. ทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: อาร์ต ควอลิไฟท์; 2557.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล. โครงการวิจัยดำเนินการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ดีเซมเบอรี่; 2563.

โสภณ เมฆธน. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.

พัชราพร เกิดมงคล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พรทิพย์ รัตนทรงธรรม. ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(2):1-10

อุษณีย์ บุญเมือง, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ, ชูเกียรติ เพียรชนะ. คุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาวหานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 2560;10(2):1990-2008.

พรทิพย์ ศิริภานุมาศ, ปุลวัตน์ พุ่มเรือง, มัญชุรัศมี เถื่อนสุคนธ์, บุญทนากร พรมภักดี, อริยะ บุญงามชัยรัตน์. การพัฒนารูปแบบที่พึงประสงค์ของระบบป้องกันและควบคุมโรคเขตเมืองของประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค. 2562;45(3):281-92.

อรวรรณ แผนคง, สุกัญญา กระเบียด, กมลรัตน์ อัมพวา, พัชรี สังข์สี. ประสิทธิผลของการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแบบชุมชนมีส่วนร่วม.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล.2563;36(3):94-104.

นิฐิคุณ เขียวอยู่. การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังโรงพยาบาลขามสะแกแสง. วารสารวิชาการ สคร.9. 2563;26(3):25-34.

เกรียงกมล เหมือนกรุด, ศิริพักตร์ มัฆวาล, ปาจารีย์ อุดมสุข, วศินี โตสำราญ. ความสำเร็จในการแปลงนโยบายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสู่การปฏิบัติในสถานบริการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 กรณีศึกษา NCD Clinic Plusปี พ.ศ. 2564. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2565;6(2):85-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-11