ผลของโปรแกรมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคบางแสน จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี วิชกูล, พย.ม. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมทักษะชีวิต, นักเรียนอาชีวศึกษา, ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคบางแสน เป็นการวิจัยแบบทดลองกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคบางแสนที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมทั้งหมด 17 คน กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมทักษะชีวิต 5 กิจกรรม ครบทุกกิจกรรม และวัดผลหลังการทดลอง 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา 5 กิจกรรม 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ 3) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับอายุ 18- 59 ปี โปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินทักษะชีวิต มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.77 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทดสอบทีคู่ 

ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม นักเรียนอาชีวศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเก่งและด้านดี มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนด้านสุขคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน (p>0.05)

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยรวมได้ จึงเสนอแนะให้นำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มอื่นๆ ได้

Author Biography

สุพรรณี วิชกูล, พย.ม., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, ดาริกา ใสงาม, วลัยลักษณ์ จิตพิบูลย์, พวงรัตน์ จินพล, อังคณา ชินเดช, ศยามล เจริญรัตน์, และคณะ. การเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สุรา ยาสูบ สารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในนักเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย ครั้งที่ 4 ปีการศึกษา 2561 [อินเตอร์เน็ต]. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: https://cas.or.th/?p=6453

World Health Organization. Promoting Health Through School. report of a WHO expert committee on Comprehensive School Health Education and Promotion [Internet]. Geneva: 1997 [cited 2022 Jul 12]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/41987/WHO_TRS_870.pdf

พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา, อาภาพร เผ่าวัฒนา. ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมเสี่ยงวัยรุ่น. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2562;35(3):212-23.

วิทยาลัยเทคนิคบางแสน. ข้อมูลนักเรียนนักศึกษาปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 12]. เข้าถึงได้จาก: http://km.chpt.ac.th/?usid=20130001&language=Th

ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์, ธนโชติ เทียมแสง, บรรณาธิการ. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. คู่มือโปรแกรมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ปิยอนด์พับลิชชิ่ง; 2560.

World Health Organization. Life skills education for children and adolescents in schools. Programme on Mental Health. Geneva: World Health Organization; 1997; 5-7.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารวิชาการ: ความฉลาดทางอารมณ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2547 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค 5]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/ebook/EQ11.pdf

วิริยะ ผดาศรี. การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

นครินทร์ สุวรรณแสง, ปิยะนุช จิตตนูนท์, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์. ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตต่อความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นหญิงในสถานสงเคราะห์เด็ก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(1):22-34.

ทรงศิริ เหล่าทรัพย์เจริญ, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในวัยรุ่น. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2556;19(1):31-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09