ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรมในวัยทำงาน ของบุคลากรสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา โพชะโน สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • เกศรา โชคนำชัยสิริ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • กะชามาศ เซ่งเถี้ยน สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • เทวพงศ์ วงค์เขื่อนแก้ว สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • วิทยุทธ์ นิลรัตน์ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • เมธีร์ ชะรัดรัมย์ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, โรคออฟฟิศซินโดรม, วัยทำงาน, การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยง และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรมในวัยทำงานของบุคลากรสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง จำนวน 220 คน โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลการศึกษา พบว่าบุคลากรสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.52, SD=0.76) โดยด้านพฤติกรรมหรืออิริยาบถในการทำงาน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.18, SD=0.83) รองลงมาคือ ด้านระยะเวลาเฉลี่ยในการทำงานอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.11, SD=0.84) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และปัจจัยด้านลักษณะงาน ได้แก่ งานออฟฟิศ และงานบริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะ ควรมีนโยบายส่งเสริมการออกกำลังกายที่ชัดเจน เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งลดพฤติกรรรมเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม

Author Biographies

อัจฉรา โพชะโน, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เกศรา โชคนำชัยสิริ, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

กะชามาศ เซ่งเถี้ยน, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

เทวพงศ์ วงค์เขื่อนแก้ว, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

วิทยุทธ์ นิลรัตน์, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

เมธีร์ ชะรัดรัมย์, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

References

ชาคริต สัตยารมณ์, ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์, นพวรรณ เปียซื่อ. ผลของการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยและประคบสมุนไพรร่วมกับการใช้ยา ต่ออาการปวดหลังส่วนล่างและปฏิกิริยาสะท้อนความตึงตัวของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2557;25(2):1-13.

ชนะวงศ์ หงษ์สุวรรณ, วิชัย อึงพินิจพงศ์, อุไรวรรณ ชัชวาลย์. ผลของการนวดไทยประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา: การศึกษานำร่อง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2557;26(2):197-204.

ปาจรา โพธิหัง, นนทกร ดำนงค์, อโนชา ทัศนาธนชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรมกับพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรมของ บุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2564;14(2):235-50.

ณภัทร เจียรณัย. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม. [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์; 2562.

กุุลิิสรา อนัันต์์นัับ, วัรญญา ติโลกะวิชัย. พฤติกรรมของคนทำงานกับการใช้แอปพลิเคชันสำหรับลดความเสี่ยงจากออฟฟิศซินโดรม ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;13(2):47-69.

สกุนตลา แซ่เตียว, ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, วรินทร์ลดา จันทวีเมือง. ผลของโปรแกรมให้ความรู้ต่อการรับรู้ความเสี่ยงอันตรายและพฤติกรรมป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน: หน่วยงานราชการพื้นที่เขตเมืองสงขลา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562;6(29):48-59.

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, สกุนตลา แซ่เตียว. พฤติกรรมการป้องกันและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่ม อาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;19(37):69-83.

ณภารินทร์ ภัสราธร. พฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของพนักงานบริษัทในเขต กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, บุษยา สังขชาต, ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์, ทองใหญ่ วัฒนศาสตร์, วรินทร์ลดา จันทวีเมือง และคณะ. ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของการรับรู้ความเสี่ยงอันตราย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(2):258-71.

ธันยวงศ์ เศรษฐ์พิทักษ์. ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

พฤทธิ์ นาเสงี่ยม. การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อการออกกําลังกายสำหรับการบําบัดโรคออฟฟิศซินโดรม. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อนฤมิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13