อุบัติการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุและการป้องกันด้วยการออกกำลังกาย ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การหกล้มในผู้สูงอายุ, การป้องกันการหกล้ม, การออกกำลังกายในผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การหกล้มและสถานการณ์การป้องกันการหกล้มด้วยการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 145 ราย โดยใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิสองขั้น และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสังเกต ระหว่าง เดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่าผู้สูงอายุในเทศบาลนครหาดใหญ่จำนวน 22,183 คน มีอุบัติการณ์การหกล้มในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 23 คน (ร้อยละ 15.90) มีการออกกำลังกายจำนวน 104 คน (ร้อยละ 71.10) จากการสังเกตพบว่ากลุ่มออกกำลังกายที่มีผู้สูงอายุเข้าร่วม มีจำนวน 18 กลุ่ม ทั้งหมดมีการออกกำลังกายประเภทการเคลื่อนไหวร่างกายในทิศทาง 3 ระนาบ ได้แก่ การเต้นตามจังหวะ รำไทเก็ก รำไม้พลอง ลีลาส และหว้ายตันกง ดังนั้น การออกกำลังกายเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการป้องการการหกล้ม ควรสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุโดยการคัดกรองหาความเสี่ยงให้ครอบคลุม ร่วมกับการสนับสนุนการออกกำลังกายตามความต้องการของผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงหลักการออกกำลังกายที่เพียงพอ ประโยชน์และรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้มต่อไป
References
รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39772
เพ็ญพักตร์ หนูผุด, ดุสิต พรหมอ่อน, สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล. ความชุกของภาวะเสี่ยงล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเสี่ยงล้มในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2563;21(1):125–37.
World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age [อินเทอร์เน็ต]. World Health Organization; 2008 [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://apps.who.int/iris/handle/10665/43811
ปริศนา รถสีดา. การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาล กับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2561;11(2):15–25.
Choi NG, Choi BY, DiNitto DM, Marti CN, Kunik ME. Fall-related emergency department visits and hospitalizations among community-dwelling older adults: examination of health problems and injury characteristics. BMC Geriatr. 2019 Nov 11;19(1):303.
นิพา ศรีช้าง, วิตรา ก๋าวี. การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 - 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2560. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=12095&tid=&gid=1-027
Davis JC, Robertson MC, Ashe MC, Liu-Ambrose T, Khan KM, Marra CA. Does a home-based strength and balance programme in people aged > or =80 years provide the best value for money to prevent falls? A systematic review of economic evaluations of falls prevention interventions. Br J Sports Med. 2010 Feb;44(2):80–9.
ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เรื่อง มาตการป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต].โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. [เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/documents/24277
Sherrington C, Fairhall N, Wallbank G, Tiedemann A, Michaleff ZA, Howard K, et al. Exercise for preventing falls in older people living in the community: an abridged Cochrane systematic review. Br J Sports Med. 2020;54(15):885–91.
สำนักงานสถิติสงขลา. รายงานสถิติจังหวัดสงขลา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://songkhla.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=219&Itemid=680
แผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลหาดใหญ่. รายงานสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลหาดใหญ่. จังหวัดสงขลา ประเทศไทย: โรงพยาบาลหาดใหญ่; 2562.
วรฤทัย จันทร์วัง. การหกล้มในผู้สูงอายุไทย [อินเทอร์เน็ต] [วิทยานิพนธ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50110
Boonpleng W, Sriwongwan W, Sattawatcharawanij P. Rate and Associated Factors for Falls among Elderly People: Chaopraya Waterfront Community in Nonthaburi Province. Nurs Sci J Thail. 2015;33(3):74–86.
เพ็ญรุ่ง วรรณดี, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, อุมากร ใจยั่งยืน. การศึกษาสถานการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2563;14(34):126–41.
American College of Sports Medicine. ACSM’s Guidelines for Exercise Testing and Prescription. Lippincott Williams & Wilkins; 2013. 481 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9