รูปแบบการส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กัตติยาณี เอกวุธ, ส.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล, ปร.ด. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, ส.ด. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเข้าถึงวัคซีน, ไวรัสโคโรนา 2019, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ ศึกษาผลของรูปแบบการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ และศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของรูปแบบการส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างศึกษาแบบเจาะจง จำนวน 243 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลลักษณะทางประชากรทั่วไป ปัจจัยแห่งความสำเร็จของรูปแบบการส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ คือด้านการรับรู้การตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ค่าเฉลี่ยรวม 3.38 อยู่ที่ระดับมากและได้ค่าเฉลี่ย 3.55 (SD=1.17) ปัจจัยที่อยู่ในระดับมาก คือ กลัวเข็มหรือกลัวการฉีดวัคซีนโควิด-19 การจัดกิจกรรม ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุประกอบด้วย 4 กิจกรรม ซึ่งพบประเด็นการไม่เข้ารับวัคซีนโควิด-19 โดยรวม 3 ประเด็น คือ ผู้สูงอายุกลัวผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย และผู้สูงอายุไม่เชื่อมั่นว่าวัคซีนโควิด-19 จะสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ความสำเร็จในการดำเนินงานจากผลการเข้ารับวัคซีนของผู้สูงอายุเข็ม 1 ก่อนทำวิจัย จำนวนผู้เข้ารับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 540 คน คิดเป็นร้อยละ 44.92 หลังเข้าร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเข้ารับวัคซีนป้องการการติดเชื้อโควิด-19 มีผู้สูงอายุเข้ารับวัคซีนเข็มที่ 1จำนวน 600 คน คิดเป็นร้อยละ 49.91

Author Biographies

กัตติยาณี เอกวุธ, ส.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล, ปร.ด., คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รองศาสตราจารย์

สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, ส.ด., คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อาจารย์

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (มิถุนายน 2564). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. คู่มือวัคซีนสู่โควิด ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2564.

โรงพยาบาลธวัชบุรี. รายงานสถานการณ์ COVID-19 ตำบลธงธานี. ร้อยเอ็ด [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค 20]. เข้าถึงได้จาก: Hos 11064.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรม ศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543.

ชิโนรส ลี้สวัสดิ์, เทิดศักดิ์ เดชคง, ลือจรรยา ธนภควัต. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความลังเลใจและความต้องการรับวัคซีนโควิด 19. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;30(2):161-70.

ขนิษฐา ชื่นใจ, บุฎกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154037.pdf

ไมลา อิสสระสงคราม. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 2564;19(2):56-67.

สุรชัย โชคครรชิตไชย. วัคซีนโควิด-19 กับแผนการสร้าง"ภูมิคุ้มกันหมู่" ในประเทศไทย (บรรณาธิการแถลง). วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2564;11(1):ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-24