การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองโดยใช้ยากัญชาทางการแพทย์

ผู้แต่ง

  • สลักจิต วรรณโกษิตย์, พ.บ. โรงพยาบาลละหานทราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
  • จิตติมา การินทร์, ภ.บ. โรงพยาบาลละหานทราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยระยะประคับประคอง, ยากัญชา, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัจจุบันยากัญชาได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น หลายงานวิจัยกล่าวถึงประโยชน์ในการใช้ยากัญชา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น ผู้ป่วยที่ต้องการรักษา แบบประคับประคอง (Palliative care) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความทุกข์ทรมานทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งมีอาการเจ็บปวดจากโรค จึงมีการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยใช้ยากัญชาเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการ มีผลข้างเคียงน้อย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์: ศึกษาคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยระยะประคับประคองโดยยากัญชาทางการแพทย์

วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ประเมินคุณภาพชีวิตหลังได้รับยากัญชาในผู้ป่วยระยะประคับประคองที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลละหานทรายตั้งแต่ ธันวาคม 2562–มีนาคม 2565 จำนวน 21 คน โดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L และติดตามอาการข้างเคียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนาตรฐาน Paired t-test

ผล: ผู้ป่วยระยะประคับประคองที่ได้รับยากัญชา จำนวน 21 ราย พบว่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ70.6 ผู้ป่วย อาการปวดลดลง Pain score ลดลงจาก 7.6 เป็น 4.3 (p-value<0.000) อาการข้างเคียงของยากัญชาที่พบเป็นอาการเล็กน้อย คือ ปากแห้ง/คอแห้ง ร้อยละ 9.5 ใจสั่น คิดเป็นร้อยละ 4.8 วิงเวียน ร้อยละ 4.8

สรุป: การใช้ยากัญชาในผู้ป่วยระยะประคับประคองสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่รุนแรง

Author Biographies

สลักจิต วรรณโกษิตย์, พ.บ., โรงพยาบาลละหานทราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านเวชกรรม)

จิตติมา การินทร์, ภ.บ., โรงพยาบาลละหานทราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

เภสัชกรชำนาญการ

References

สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย. คู่มือการปรุงยาเฉพาะรายตำรับกัญชาทางการแพทย์แผนไทย(ส่วนที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษ) สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2564: 2-21.

กรมการแพทย์. คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กรมการแพทย์. คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564: 3-5.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: https://www.karunruk.org/wp-content/uploads/2021/06/11.-มาทำความเข้าใจกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย.pdf

World Health Organization. Planning and Implementing Palliative Care Service: Guide for program manager. Geneva: World Health Organization; 2016.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 218ง 2562; 2562: 1-3.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รูปแบบคลินิกใหคำปรึกษาการใชสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 7]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kanpho.go.th/new/downloads/1.รูปแบบคลินิกกัญชาทางการแพทย์.pdf

Bar-Lev Schleider L, Mechoulam R, Lederman V, Hilou M, Lencovsky O, Betzalel O, Shbiro L, Novack V. Prospective analysis of safety and efficacy of medical cannabis in large unselected population of patients with cancer. Eur J Intern Med. 2018 Mar;49:37-43. doi: 10.1016/j.ejim.2018.01.023.

กิตติวัฒน์ กันทะ, สมบัติ กาศเมฆ, นิภาพร ใจบาน. ผลการพัฒนาคลินิกดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลจุน จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2564;8(3):41-56.

ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย, ศิริพร ปาละวงศ์, ทัศนีย์ กามล. ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชา คลินิกกัญขาทางการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2564;19(1):19-33.

อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, สมชาย ธนะสิทธิชัย, อรุณี ไทยะกุล, สุรีพร คนละเอียด, วรนุต อรุณรัตนโชติ, ธนะรัตน์ อิ่มสุวรรณศรี, และคณะ. ผลของการใช้ยาสกัดกัญชาชนิด THC เด่นในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วารสารกรมการแพทย์. 2563;45(4):208-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13