การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้รับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อนงค์ เพชรล้ำ โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
  • ธนบดี บุตรประพันธ์ โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้รับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 246 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ รวมทั้งพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher's exact test

ผลวิจัยพบว่า ผู้รับบริการทันตกรรมมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 51.1 และรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ร้อยละ 58.9, 69.1, 77.6 และ 48.8 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.8 และพบว่าปัจจัยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.046, p<0.001, p=0.001 และ p=0.021 ตามลำดับ)

การวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการทันตกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ยังมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

Author Biographies

อนงค์ เพชรล้ำ, โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ

ธนบดี บุตรประพันธ์, โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ทันตแพทย์ปฏิบัติการ

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหาจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/15720220926033413.PDF

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/15620220926033355.PDF

กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติทางทันตกรรมวิถีใหม่ ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่น [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค.5]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=174

Amato A, Caggiano M, Amato M, Moccia G, Capunzo M, De Caro F. Infection Control in Dental Practice During the COVID-19 Pandemic. Int J Environ Res Public Health. 2020 Jul 2;17(13):4769. doi: 10.3390/ijerph17134769.

วิลาวัลย์ พรมชินวงค์, สุพรรษา จันทร์สว่าง, ศุภศิลป์ ดีรักษา, วิภาดา จิตรปรีดา, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี. ทัศนมิติในการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของผู้ป่วยในสภาวะแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส(โควิด 2019) อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล. 2564;32(1):81-8.

Rosenstock IM. The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs. 1974; 2:354-86.

จุฬนาริน วิทยวรรณกุล, ศศิกานต์ ศีลพันธุ์, กาญจนา ศรีนะพรม, ธาราวรรษ ไชยศิริ. ผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อบริการทันตกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 2564;32(2):14-26.

Becker MH. The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs. 1974;2:324-508.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์ ; 2556.

Best JW. Research in Education. 3rded. New Delhi: Prentice Hall; 1978

ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ์, นภชา สิงห์วีรธรรม. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ศูนย์อำนวยการแพทย์จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563;3(3):107-17.

ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(2):247-59.

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.2563;6(4):158-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-18