ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สิริพร จงมีศิลป์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นครินทร์ ประสิทธิ์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย พิมหา สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพรัตน์ เสนาฮาด สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพัฒน์ กองศรีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • พิทยา ธรรมวงศา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • ศรัณยา พันธุ์โยธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฐพล โยธา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษาคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมวัณโรค ของในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 156 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 138 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค 0.95 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่าภาพรวม ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูงและปัจจัยแห่งความสำเร็จ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ (r =0.747, p-value <0.001 และ r =0.707,p-value  <0.001) ตามลำดับ และปัจจัยแห่งความสำเร็จการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ ปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร และปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับมีแผนงานสนับสนุนมีผลและสามารถร่วมพยากรณ์ การดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 75.9 (R2=0.759)

Author Biographies

สิริพร จงมีศิลป์, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

นครินทร์ ประสิทธิ์, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์

สุรชัย พิมหา, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์

นพรัตน์ เสนาฮาด, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์

สุพัฒน์ กองศรีมา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

นักวิชาการสาธารณสุข

พิทยา ธรรมวงศา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

นักวิชาการสาธารณสุข

ศรัณยา พันธุ์โยธา, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาปริญญาเอก

ณัฐพล โยธา, องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

นักวิชาการสาธารณสุข

References

World Health Organization. Global Tuberculosis Report 2021. Geneva, Switzerland: WHO; 2021.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2565). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ลัดดา ดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษม เวชสุนทรานนท์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานสรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ปี 2564. กาฬสินธุ์: กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. จำนวนบุคลากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปี 2564. กาฬสินธุ์: กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2564.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavior Sciences. 2nd ed. New York: Academic; 1988.

สุวิชัย ถามูลเลศ, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด ขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561;25(1):23-34.

Likert R. The Human Organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill; 1967.

สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

Elifson KW, Runyon RP, Haber A. Fundamentals of Social Statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.

น้ำทิพย์ ศรีหนองกิจ, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561;11(2):555-66.

เพชรัตน์ พันอ้น, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนา ระบบสุขภาพ. 2561;11(2):624-34.

สมโภช ยอดดี, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2561;1(2):41-53.

ปภินวิทย์ คำสมาน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยมข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564;21(3): 65-77.

วิลาสินี วงค์ผาบุตร, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564;21(3):186-99.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขใน โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562;19(1):149-60.

อิ่มฤทัย ไชยมาตย์, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564;21(3):172-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-24