ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ เครือข่ายบริการสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ภาวะโภชนาการเกิน, เด็กวัยเรียน, เครือข่ายบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกิน อำนาจการทำนายภาวะโภชนาการเกินและจัดทำข้อเสนอแนะภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียนในพื้นที่รับผิดชอบเครือข่ายบริการสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 268 คน โดยใช้สถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว และถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียนของกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพของผู้ปกครอง โรคประจำตัว พฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนสูง ช่องทางการสื่อสารที่ได้เรียนรู้ด้านดูแลสุขภาพ/พฤติกรรมสุขภาพด้านภาวะโภชนาการเกิน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนัก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 มีอำนาจทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียน ร้อยละ 88.2 เขียนสมการทำนายได้ดังนี้ Y = 22.012 + (0.479) X2 + (-0.230) X3 + (1.924) X9 + (-1.564) X11 + (-0.023) X15 + (-0.492) X19 และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ กำหนดนโยบาย แผนงาน/โครงการร่วมกัน พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินผล พัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ สร้างทีมปฏิบัติการ พัฒนาโปรแกรม และระบบสื่อสารและสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์ จัดทำข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ คือ พัฒนาให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เผยแพร่ความรู้ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อภาวะโภชนาการ จัดอบรมครูและแกนนำนักเรียน และมีระบบติดตามและประเมินผลผ่านระบบออนไลน์
References
ปุลวิชช์ ทองแตง, จันทร์จิรา สีส่วาง. ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2555;18(3):287-97.
สุภาวดี อรรคพัฒน์. ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัวและชุมชนกับภาวะอ้วนของนักเรียนเขตพื้นที่การศึกษาที่ 2 จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
พรประภา ขุนวิชิต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนจังหวัดปราจีนบุรี. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
World Health Organization. Obesity and overweight [Internet]. 2016. [cited 2016 Nov 15] Available form: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทยปี 2555-2563. นครปฐม: ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย; 2564.
Davison KK, Birch LL. Childhood overweight: a contextual model and recommendations for future research. Obes Rev. 2001 Aug;2(3):159-71. doi: 10.1046/j.1467-789x.2001.00036.x.
ธีรวุฒิ เอกะกลุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2553.
กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียน. รายงานผลการดำเนินงานภาวะโภชนาการในเครือข่ายบริการสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 11. นครศรีธรรมราช: ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช; 2565.
ธีรวุฒิ เอกะกลุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2553.
สำนักงานทะเบียนและวัดผล. คู่มือนักศึกษาระดับปริญญาตรีประจำปีการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2564.
รัตนะ บัวสนธ์. การประเมินโครงการ/การวิจัยเชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้นท์; 2550.
จิรภาภรณ์ ปัญญารัตนโชติ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(2):43-56.
Coelho LG, Cândido AP, Machado-Coelho GL, Freitas SN. Association between nutritional status, food habits and physical activity level in schoolchildren. J Pediatr (Rio J). 2012 Sep-Oct;88(5):406-12. English, Portuguese. doi: 10.2223/JPED.2211. Epub 2012 Sep 26. PMID: 23014848.
ชัยพฤกษ์ ตันสุวัฒน์. ผลการใช้แบบฝึกกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อดัชนีมวลกายของนักเรียน ที่มีภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์ ระดับชันประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา]. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2560.
อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล. บทบาทนักสาธารณสุขในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร. วารสารสภาพการสาธารณสุขชุมชน 2563;2(2):1-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9