การศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ บุตรดีขันธ์ โรงพยาบาลรัตนบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และ 3) ศึกษาผลการดำเนินงาน และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 330 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุประกอบด้วย 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์บริบทพื้นที่ 2) จัดประชุมวางแผนเชิงปฏิบัติการ 3) การกำหนดแผนปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 5) นิเทศติดตามผลการดำเนินงาน 6) การประชุมสรุปผลการดำเนินงาน รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2) กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และ 3) กิจกรรมสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ ผลการประเมิน การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง พบว่ามีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( =3.85, SD=0.81) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =3.92, SD=0.61) และผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ระดับดี ร้อยละ 82.00 หลังการดำเนินงาน ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง ( =76.30, SD=10.18) มีคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ( =83.60, SD=8.99) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, SD=0.56) และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังการดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ได้จากศึกษา คือการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในทุกขั้นตอน และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานที่มั่นคงและยั่งยืน

Author Biography

จุฑารัตน์ บุตรดีขันธ์, โรงพยาบาลรัตนบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ 

References

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ, ชลธิชา อัศวนิรันดร. การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและข้อมูลสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุในมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พงษ์พาณิชย์เจริญผล; 2555.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. รายงานประจำปี 2564. สุรินทร์:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์;2564.

โรงพยาบาลรัตนบุรี. สรุปผลการดำเนินงานผู้สูงอายุโรงพยาบาลรัตนบุรี ปี 2564. สุรินทร์: โรงพยาบาลรัตนบุรี; 2564.

World Health Organization. The Development of the World Health Organization Quality of Life Assessment Instrument (The WHOQOL). in Orley J, Kunyken W. (eds.). Quality of life assessment : international perspectives : proceedings of the joint meeting organized by the World Health Organization and the Foundation IPSEN in Paris, July 2-3 1993.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer. 3rd ed. Geelong, Victoria: Deakin University Press; 1988.

มาเรียม นิลพันธ์. วิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปกร นครปฐม; 2553.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานประจำปี 2563. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข;2563.

Development of the World Health Organization WHOQOL-BREF quality of life assessment. The WHOQOL Group. Psychol Med. 1998 May;28(3):551-8. doi: 10.1017/s0033291798006667

World Health Organization. Programmed on mental health: WHOQOL Measuring quality of life. Geneva: WHO; 1995

ทัศนีย์ อนันทวัน, สงครามชัย ลีทองดี, ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2560;23(2):85-99.

ชูศรี วงรัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติในการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์; 2544.

ล้วน สายยศ, อังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุรีวิยสาสน์; 2539.

พิณทิพย์ จำปาพงษ์. รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยพยาบาลครอบครัวและการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตาบลบางปะกง อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา.ฉะเชิงเทรา: โรงพยาบาลบางปะกง; 2561.

Caffrey R. Family Caregiving to the elderly in northeast Thailand: Changing pattern. Doctoral dissertation, Philosophy, Department of Anthropology: Oregon University; 1991.

ฉวีวรรณ อุปมานะ.รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2561.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, สถาพร แถวจันทึก, วารุณี เกตุอินทร์, วิไลวรรณ คมขำ.

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลธงชัย จังหวัดเพชรบุรี.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562;8(1):85-99.

นรินทร์ชัย พัฒนพงษา, โกวิทย์ พวงงาม. การมีส่วนร่วม หลักการ พื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์; 2553.

ภัทรานิษฐ์ ก้อนคำ, สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. อำนาจเจริญ: โรงพยาบาลอำนาจเจริญ; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-16