การรับรู้ด้านสุขภาพและการเลือกบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การรับรู้ด้านสุขภาพ, บำบัดทดแทนไต, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพและการเลือกบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลศรีสงคราม จำนวน 206 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ด้านสุขภาพ และสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.1 อายุเฉลี่ย 66.63±10.49 SD อัตราการกรองของไตเฉลี่ย 19.9±16.91 ml/min/1.73m2 ระดับ GFR ค่า 0-15 คิดเป็นร้อยละ 48.1 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเลือกบำบัดทดแทนไต ระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.96 (SD=1.43) การรับรู้ความรุนแรงของการเลือกบำบัดทดแทนไต ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.00 (SD=1.96) การรับรู้ถึงประโยชน์ของการเลือกบำบัดทดแทนไต ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.23 (SD=1.98) การรับรู้อุปสรรคของการเลือกบำบัดทดแทนไต ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.42 (SD=0.89) และสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.46 (SD=0.68) ส่วนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีประคับประคอง จำนวน 117 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.80 จากผลการศึกษาทำให้สามารถวางแผนการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง รวมถึงทราบถึงการรับรู้ด้านสุขภาพและการเลือกบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง สามารถนำข้อมูลมาประกอบแนวทางในการให้ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อที่ทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจในการรักษาได้เร็วขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดสินใจล่าช้า
References
World Health Organization. The World Health Report 2008 Primary Health Care-Now More Than Ever. Geneva, World Health Organization. 2008
วิภาพร สิทธิสาตร์, ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ทางสุขภาพ. 2558; 9(1):25-31.
เบญจมาส เรืองดิษฐ์, เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์, ชูลินดา สะมะแอ. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559; 3(3):194-207.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เม.ย. 13]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report8_9.pdf
Cruz MC, Andrade C, Urrutia M, Draibe S, Nogueira-Martins LA, Sesso Rde C. Quality of life in patients with chronic kidney disease. Clinics (Sao Paulo). 2011;66(6):991-5. doi: 10.1590/s1807-59322011000600012.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558 [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึง 2566 เม.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/km/cop/clinical/rdu/rduguideline/21134/
Bloom BS. Handbook on Formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1971.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.Inc; 1977.
Saran R, Robinson B, Abbott KC, Agodoa LYC, Bhave N, Bragg-Gresham J, et al. US Renal Data System 2017 Annual Data Report: Epidemiology of Kidney Disease in the United States. Am J Kidney Dis. 2018 Mar;71(3 Suppl 1):A7. doi: 10.1053/j.ajkd.2018.01.002.
Dahlerus C, Quinn M, Messersmith E, Lachance L, Subramanian L, Perry E, Cole J, Zhao J, Lee C, McCall M, Paulson L, Tentori F. Patient Perspectives on the Choice of Dialysis Modality: Results From the Empowering Patients on Choices for Renal Replacement Therapy (EPOCH-RRT) Study. Am J Kidney Dis. 2016 Dec;68(6):901-910. doi: 10.1053/j.ajkd.2016.05.010.
รสติกร ขวัญชุม, พัชรินทร์ คมขา, ปุรินทร์ศรีศศลักษณ์, สุนิสา จันแสง. ครอบครัวกับการจัดการโรคในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;10(2):6-14.
ญาณิศา สุริยะบรรเทิง, ภัควีร์ นาคะวิโร. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับการบําบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563;10(1):49-60.
อํานวยพร แดงสีบัว, อัจฉราวรรณ โตภาคงาม, สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์. การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2558;9(2):181-91.
อภิรดี อภิวัฒน์นากร, ชิดชนก เรือนก้อน. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิเสธการฟอกไตในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561;10(2):29-43.
ภทรพรรณ อุณาภาค, ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2558;10(2):44-54.
กุสุมาวดี อุปสาร, สุภาพร ใจการุณ, เผ่าไทย วงษ์เหลา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 2559; 5(2):71-81.
อาทิตยา อติวิชญานนท์. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. บูรพาเวชสาร. 2560; 492):67-78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9