การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ของตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลต้นแบบ
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ตัวบ่งชี้, คุณภาพสิ่งแวดล้อม, โรงพยาบาลต้นแบบบทคัดย่อ
การวิจัยผสานวิธีเพื่อศึกษายืนยันองค์ประกอบของตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลต้นแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและบุคลากรโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 6 แห่ง บุคลากร 12,196 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2566 โดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การประเมินเกณฑ์ตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลและเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อยืนยันองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลต้นแบบ การทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้ IOC เท่ากับ 0.84 และหาความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล
ผลการวิจัย ดัชนีการตรวจสอบความสอดคล้องและความกลมกลืนของตัวแปรกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของสมการโครงสร้างตามสมมติฐาน พบว่า โมเดลสุดท้ายที่มีความเหมาะสมที่สุด ในการนำไปใช้อธิบายสมมติฐานการพิจารณาได้จากค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าตามเกณฑ์ทุกค่า โดยค่า Chi-Square=5.210, Degrees of freedom=2, Probability level=0.74, CMIN/DF=2.605, GFI=0.996 และ RMSEA=0.068 ค่า Probability level มีค่ามากกว่า 0.05 และ CMIN/DF มีค่าน้อยกว่า 3 GFI=0.997 RMSEA=0.000 ตามลำดับ ควรนำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันไปประยุกต์ใช้กับเกณฑ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับไปใช้โรงพยาบาลต้นแบบ และในโรงพยาบาลนำร่องทุกภาค เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศไทย
References
กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธ.ค. 8]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8983
กรมอนามัย. สรุปผลการดำเนินงานโครงการวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ปี 2565 [ออนไลน์]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธ.ค. 8]. เข้าถึงได้จาก: https://env.anamai.moph.go.th/
กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของทีมภารกิจปฏิบัติการ [ออนไลน์]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธ.ค. 8]. เข้าถึงได้จาก: https://env.anamai.moph.go.th
วินัย วีระวัฒนานนท์. สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน; 2541.
วินัย วีระวัฒนานนท์. หลักการสอนสิ่งแวดล้อม. พิษณุโลก: การพิมพ์ดอทคอม; 2562.
ไพศาล ปันแดน. การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2556;7(1):100-10.
ศิริชัย จันพุ่ม, ประกฤตติยา ทักษิโน, ธนัชพร บรรเทาใจ. การประยุกต์ใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับในงานสำรวจทางสาธารณสุข. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2022;17(1):1-19.
ศักดิ์ศรี สืบสิงห์, นิธินาถ อุดมสันต์, สุภิมล บุญพอก. การศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาวะโลกร้อนของประชาชนใน ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 2562; 5(2):193-203.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13. ผลกระทบปัญหาสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 8]. เข้าถึงได้จาก https://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9373
อดิศักดิ์ สิงห์สีโว. พื้นฐานสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาสารคาม: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
Killion JB, Johnston JN, Gresham J, Gipson M, Vealé BL, Behrens PI, Velasquez B, Jansen L, Woods-Fidelie L, Close DM. Smart device use and burnout among health science educators. Radiol Technol. 2014 Nov-Dec;86(2):144-54. PMID: 25391666.
Ute JD, William C. Environmental concern and environmental purchase intentions: The mediating role of learning strategy. Journal of Business Research. 2020; 68(9): 1974-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9