การพัฒนาระบบป้องกันล้มของผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • ชาทัส สวัสดิกุล โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • กนกชล พูนธีราธร ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
  • จิรวัฒน์ ทิววัฒน์ปกรณ์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • นิตยา ทองขจร โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การหกล้มในผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การพัฒนาระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการป้องกันล้มของผู้สูงอายุภายในชุมชน เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคชุมชนและท้องถิ่น และ 2) วิเคราะห์ผลลัพธ์ของกระบวนการพัฒนาระบบป้องกันล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เขตเทศบาลนครหาดใหญ่แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญคือ 1) ระยะกำหนดแผนกิจกรรม เป็นระยะที่มีการค้นหาปัญหา ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรม 2) ระยะดำเนินการ มีการจัดอบรมให้แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ลงพื้นที่คัดกรองผู้สูงอายุ ให้โปรแกรมการออกกำลังกาย และติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และ 3) ระยะสรุปผลและสะท้อนกลับ นำผลลัพธ์ที่ได้สะท้อนกลับสู่ชุมชน และออกแบบเพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินงานต่อได้ด้วยตนเอง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้คือ การทดสอบ Time Up and Go test การทดสอบลุก-ยืน 30 วินาที แบบประเมินการเสี่ยงล้ม แบบประเมินสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และแบบทดสอบความรู้ ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม

ข้อมูลทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ One-way ANOVA วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 2 ครั้ง และเปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้สถิติ Bonferroni และกำหนดระดับนัยสำคัญ ที่ 0.05 ผลการวิจัย ดังนี้ 1) ระบบการป้องกันล้มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ คัดกรองสมรรถนะของผู้สูงอายุด้วยอาสาสมัครในพื้นที่ ให้โปรแกรมออกกำลังกายแบบเฉพาะเจาะจง และติดตามอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการให้การเสริมแรงแก่อาสาสมัครอย่างต่อเนื่องโดยทีมสหวิชาชีพ 2) ภายหลังเข้าร่วมวิจัยที่ 3 เดือน ผู้สูงอายุมีค่า TUG test และ STST test ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมวิจัยที่ p<0.05

Author Biographies

ชาทัส สวัสดิกุล, โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นักกายภาพบำบัด

กนกชล พูนธีราธร, ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

นักกายภาพบำบัด

จิรวัฒน์ ทิววัฒน์ปกรณ์, โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นักกายภาพบำบัด

นิตยา ทองขจร, โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นักกายภาพบำบัด

References

Clemson L, Fiatarone Singh MA, Bundy A, Cumming RG, Manollaras K, O'Loughlin P, Black D. Integration of balance and strength training into daily life activity to reduce rate of falls in older people (the LiFE study): randomised parallel trial. BMJ. 2012 Aug 7;345:e4547. doi: 10.1136/bmj.e4547.

Ahmadiahangar A, Javadian Y, Babaei M, Heidari B, Hosseini S, Aminzadeh M. The role of quadriceps muscle strength in the development of falls in the elderly people, a cross-sectional study. Chiropr Man Therap. 2018 Aug 6;26:31. doi: 10.1186/s12998-018-0195-x.

Arzhane SSD, Hazrati M, Ashraf A. The Effect of Otago Exercise Program Training on Balance and Fear of Falling in Elderly Individuals. Research square. 2019; https://doi.org/10.21203/rs.2.17067/v1.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. กถาพัฒนากร. กรุงเทพ: กรมการพัฒนาชุมชน; 2550.

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. การพัฒนาชนบท. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2527.

Millor N, Lecumberri P, Gómez M, Martínez-Ramírez A, Izquierdo M. An evaluation of the 30-s chair stand test in older adults: frailty detection based on kinematic parameters from a single inertial unit. J Neuroeng Rehabil. 2013 Aug 1;10:86. doi: 10.1186/1743-0003-10-86.

ชุติมา ชลายนเดชะ. คัดกรองการล้มด้วย Timed Up and Go Test (TUG). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2557;26(1):5-16.

ชุมเขต แสงวงเจริญ. บ้านปลอดภัยไม่เสี่ยงล้ม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). ท่าออกกำลังกายป้องกันล้ม. ยากันล้ม. กรุงเทพฯ: สสส.; 2558.

Mahmoodabad SSM, Zareipour M, Askarishahi M, Beigomi A. Effect of the Living Environment on falls among the Elderly in Urmia. Open Access Maced J Med Sci. 2018 Nov 24;6(11):2233-2238. doi: 10.3889/oamjms.2018.434.

ญาณิกา พาพิพัฒน์, จรณชัย ต้นไฮ. ความตระหนักรู้ในตนเองกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย โรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2562;4(1)2:38-50.

จินตนา สุจจานันท์. การศึกษาและการพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่: นันทพันธ์ พริ้นติ้ง; 2547.

สุภาพร พุทธรัตน์, สมปอง โรจน์รุ่งศศิธร, รานี เทียนฤทธิเดช. การสร้างเสริมบทบาทแกนนำชุมชนในการเฝ้าระวังควบคุมโรคไม่ติดต่อ อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ปี พ.ศ. 2550-2552. วารสารควบคุมโรค. 2556;39(3):246-57.

รัถยานภิศ พละศึก, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ดลปภัฎ ทรงเลิศ. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม:กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้; 2561;5(1):211-23.

Kim SJ, Cho BH. The effects of empowered motivation on exercise adherence and physical fitness in college women. J Exerc Rehabil. 2013 Apr;9(2):278-85. doi: 10.12965/jer.130011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-28