ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ของผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฐกร นิลเนตร, ส.ด. คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สุขศิริ ประสมสุข, ปร.ด. คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • เพ็ญวิภา นิลเนตร, ส.ม. ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน, ผู้สูงอายุ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันพบแนวโน้มการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างหนึ่งจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน ในปริมาณสูง การศึกษาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 218 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.43, 60.55, 46.79 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารหวานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (r=0.323, p=.005) ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (r=0.572, p=.005) และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (r=0.443, p=0.001)

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความสำคัญในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมความรู้และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานที่ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้น

Author Biographies

ณฐกร นิลเนตร, ส.ด., คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

อาจารย์

สุขศิริ ประสมสุข, ปร.ด., คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เพ็ญวิภา นิลเนตร, ส.ม., ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

Ventura Dde A, Fonseca Vde M, Ramos EG, Marinheiro LP, Souza RA, Chaves CR, Peixoto MV. Association between quality of the diet and cardiometabolic risk factors in postmenopausal women. Nutr J. 2014 Dec 22;13(1):121. doi: 10.1186/1475-2891-13-121.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บําบัดเบาหวานด้วยอาหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์, 2559.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดีย จำกัด; 2560.

World Bank. Health and non-communicable disease [serial online]. 2016 [cited 2023 March 10]. Available from: https://documents1.worldbank.org/curated/en/991041503690161370/pdf/119110-WP-P154324-PUBLIC-47p-pphealthNCDsbackgroundfinal.pdf

อมรรัตน์ นธะสนธิ์, นพวรรณ เปียซื่อ, ไพลิน พิณทอง. ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการในชุมชนกึ่งชนบทจังหวัดอุบลราชธานี. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2560; 23(3):344-57.

วิชัย เอกพลากร และคณะ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. ตลาดอาหารสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=163

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/สาขารายได้และรายจ่ายของครัวเรือน.aspx

อรทิพย์ แสนเมืองเคน, เบญจา มุกตพันธ์, สมใจ ศรีหล้า, พิษณุ อุตตมะเวทิน. พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หมู่บ้านอุดมทรัพย์ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสาคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26 (ฉบับเพิ่มเติม 2): S227-S238.

ไพรวัลย์ โคตรตะ, อมรรัตน์ นธะสนธิ์, อรอุมา แก้วเกิด. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):799-815.

Daniel WW. Biostatistics - a Foundation for analysis in the health sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons; 1995.

ปัทมาวรรณ เค้าแคน, อภิชญา ดอนสินเพิ่ม. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนศรีสวัสดิ์ ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2562; 2(2):54-68.

ภฤดา แสงสินศร. การศึกษาเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2564;2(2):43-54.

ภัสราภรณ์ ทองภูธรณ์, สุวลี โล่วิรกรณ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;13(1):22-32.

สมจิตร ชัยยะสมุทร, วลัยนารี พรมลา. แนวทางการพัฒนาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จังหวัดปทุมธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤษภาคม 4]. เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mgsj/article/download/177298/126301/

มนรดา แข็งแรง และคณะ. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. 2560; 968-80.

จินดารัตน์ แหวนพรม, อรทัย แซ่เถา, วิภาดา ศรีเจริญ, ยุวดี ตรงต่อกิจ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, เอกภพ จันทร์สุคนธ์, อภิรักษ์ แสนใจ. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 2564; 2810-9.

อภิญญา บ้านกลาง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัย; 2559.

Saleh F, Afnan F, Ara F, Mumu SJ, Khan A. Diabetes Education, Knowledge Improvement, Attitudes and Self-Care Activities Among Patients with Type 2 Diabetes in Bangladesh. Jundishapur Journal Health Science. 2017; 9(1):1-7.

ยุฑามาส วันดาว, ทิพมาส ชิณวงศ์, อุดมรัตน์ ชโลธร, อรุณี ทิพย์วงศ์. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาสงขลานครินทร์. 2561;38(3):52-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-19