พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม

ผู้แต่ง

  • วิมลรัตน์ ผลพิบูลย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ธีรนุช ยินดีสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • นิภัทรา เศรษฐจันทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศิริรัตน์ โกศัลวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคร่วม

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานที่ตามมาด้วยโรคร่วมต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยการตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน มีอายุระหว่าง 37-70 ปี มีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยการรับประทานอาหารจากครอบครัว และดูแลตนเอง กิจกรรมทางกายลดลงหลังจากเจ็บป่วย การมาตรวจตามนัด ขอความช่วยเหลือ ทำบุญ จัดการมรดก ปัญหาและความต้องการมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพ ด้านสังคมจากการไม่เข้าร่วมสังคม แต่มีส่วนส่งเสริมให้สามารถลดเลิกการดื่มแอลกอฮอล์ได้ และด้านสุขภาพ ในประเด็นเรื่องสิทธิการรักษาและผู้ดูแล ปัจจัยเงื่อนไข คือสถานภาพสมรส สำหรับผู้ที่มีครอบครัว-คนรัก จะมีคนดูแล และกระตุ้นเตือนในการดูแลสุขภาพ ด้านอาชีพ ผู้ที่มีงานประจำอาจมีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง เพราะมุ่งผลลัพธ์ในการทำงาน และช่วงอายุ ในกรณีที่มีอายุมากขึ้น มีความต้องการผู้ดูแลมากกว่าผู้ที่อายุน้อย

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอให้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วมต้องนำครอบครัว เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล และให้ความสำคัญกับช่วงวัยในการให้คำแนะนำ ส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับการเจ็บป่วย การเตรียมความพร้อมในวิถีของศาสนา และเข้าถึงความต้องการทั้งร่างกายและจิตใจ

Author Biographies

วิมลรัตน์ ผลพิบูลย์, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ธีรนุช ยินดีสุข, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

อาจารย์

นิภัทรา เศรษฐจันทร, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

อาจารย์

ศิริรัตน์ โกศัลวัฒน์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

WHO. Non Communicable Disease [internet]. 2021 [cited 2022 Feb 18] Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases

กระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมโรคฯ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256

Struijs JN, Baan CA, Schellevis FG, Westert GP, van den Bos GA. Comorbidity in patients with diabetes mellitus: impact on medical health care utilization. BMC Health Serv Res. 2006 Jul 4;6:84. doi: 10.1186/1472-6963-6-84.

Long AN, Dagogo-Jack S. Comorbidities of diabetes and hypertension: mechanisms and approach to target organ protection. J Clin Hypertens (Greenwich). 2011 Apr;13(4):244-51. doi: 10.1111/j.1751-7176.2011.00434.x.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การดำเนินการด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs). นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

United Nations. Compilation of Metadata for the Proposed Global Indicators for the Review of the 2030 Agenda for Sustainable Development [internet]. 2015 [cited 2021 May 1]. Available from: https://unstats.un.org/sdgs/iaeg-sdgs/metadata-compilation/

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

ดวงพร กตัญญุตานนท์, วัชรีย์ จันทร์ปัญญา, สุธีธิดา ปาเบ้า, เสาวณี เป้าจังหาร, ธรพร น้อยเปรม, สาวิกา พาลี, และคณะ. พฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลในเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560;6(2):53-62.

สุนทรี สุรัตน์, กิตติ ศศิวิมลลักษณ์, เกวลี เครือจักร, วิโรจน์ มงคลเทพ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2559;4(2):297-307.

สุจินต์ เรืองรัมย์, เปรมสุรีย์ แสนสม, คัทรียา รัตนวิมล. การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2559;10(2):95-106.

ยุฑามาส วันดาว, ทิพมาส ชิณวงศ์, อุดมรัตน์ ชโลธร, อรุณี ทิพย์วงศ์. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(3):52-64.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิสุมล นันตา, จุฑามาศ สุขเกษม. ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2560;28(2):93-103.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.

จิรพรรณ ผิวนวล, ประทุม เนตรินทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้ว ในตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2561;1(2):46-61.

วิรยุทธ สนธิเมือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2565;5(2):68-78.

กัลยา กุระนาม, นภาพร ศรีเนตร, อาทิตยา สุมาศวรรนา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตองค์การบริการส่วนตำบลขั้นไดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโยสร. 2563;7(2):81-94.

วิวิทธิ์ตา จารุจินดา. การลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายด้วยหลักพุทธจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา. 2561;3(1):1-12.

ธงชัย สีโสภณ, สุนันท์ เสนารัตน์. กระสวนวัฒนธรรมทางสังคมอีสาน “เตรียมชีวิตหลังความตายเพื่อลูกหลาน” วารสารวัฏองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 2561;5(2):47-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-29