ผลการดูแลผู้ป่วยมีภาวะถอนพิษสุราแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ศรีสุวรรณ
คำสำคัญ:
การติดสุรา, ภาวะถอนพิษสุรา, ผู้ป่วยในบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยมีภาวะถอนพิษสุราแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ศรีสุวรรณ
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) จากข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยใน กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอาการถอนพิษสุรา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 มิถุนายน 2566 ติดตามผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawal Scale: AWS) และแบบประเมินระดับความเสี่ยงของต่อการดื่มสุรา (Alcohol Use Disorders Identification Test: AUDIT) ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างจากระยะเริ่มพัฒนาแนวปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 16 คน และกลุ่มตัวอย่างจากระยะหลังพัฒนาแนวปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 มิถุนายน 2566 จำนวน 43 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Student’s t-test และ Pearson’s chi-squared test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในระยะถอนพิษสุรา 59 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 94.92 ได้รับการวินิจฉัยโรคหลัก Alcohol dependence (F10.2) ร้อยละ 62.71 ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.25±2.30 วัน หลังจากมีการปรับแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยมีระยะเวลาที่เกิดอาการถอนพิษระดับรุนแรงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.004) และผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการถอนพิษสุราให้สงบภายในเวลา 5 วันได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) ผู้ป่วยกลับมาดื่มสุราใน 3 เดือนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.010)
สรุปผลการศึกษา: การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ศรีสุวรรณ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย อาการทุเลา สามารถลดระยะเวลาที่เกิดการถอนพิษในระดับรุนแรง และสหวิชาชีพที่รับผิดชอบในการดูแลมีแนวปฏิบัติที่เป็นในรูปแบบเดียวกัน
References
คณะอนุกรรมการพิจารณาด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. แนวปฏิบัติการคัดกรองและบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือสำหรับผู้อบรมการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์; 2552.
เดชา ลลิตอนันต์พงศ์. การถอนสุรา : กลุ่มอาการและการรักษา. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2553;54(1):67-88.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
โรงพยาบาลสวนปรุง. แนวทางการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เชียงใหม่: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง, อัมพร สีลากุล, วิมาลา เจริญชัย. การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์ในระยะถอนฤทธิ์สุราแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2564;15(1):29-48.
ปริทรรศ ศิลปกิจ, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. แบบประเมินปัญหาการดื่มสุราแนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: แผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.); 2552.
Sinclair M, McRee B, Babor T. Evaluation of the Reliability of AUDIT. University of Connecticut School of Medicine, Alcohol Research Center (unpublished report); 1992.
ชัชวาล ลีลาเจริญพร, ศรีสุพรรณ นันทไพบูลย์. ผลของการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดสุราที่โรงพยาบาลพิมาย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2550;1(3):375-84.
อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, พิศวาท ศรีสอน, อมราภรณ์ ฝางแก้ว. ผลการปรับปรุงและพัฒนาแบบประเมินภาวะถอนพิษสุรา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2556;15(3):30-42.
นิภาภัคร์ คงเกียรติพันธุ์. การพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลโกสุมพิสัย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2563;5(2):60-9.
ชนิกา ศฤงคารชยธวัธ. ผลการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์โดยใช้แบบประเมิน CIWA-Ar score ในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(2):281-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9