การพัฒนาแนวปฏิบัติการคัดกรองโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวปฏิบัติ, การคัดกรอง, โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการคัดกรองโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหาทางคลินิก ด้วยการศึกษาเวชระเบียนและการสนทนากลุ่ม ทำให้ได้ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ 2) การค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้วยวิธีการและแหล่งสืบค้นที่หลากหลาย ประเมินคุณภาพระดับความน่าเชื่อถือ นำหลักฐานที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สร้างข้อสรุปในภาพรวม บูรณาการความรู้ใหม่ที่ได้เข้ากับข้อค้นพบทางคลินิกและบริบทของหน่วยงานเพื่อพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการคัดกรองโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การให้คำแนะนำ และการติดตามประเมินผล 3) การนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นลงสู่การปฏิบัติและประเมินผลลัพธ์ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง พบว่าเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ของกลุ่มตัวอย่าง ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและการติดตามผล โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) การนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ไปใช้จริงกับ สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก และอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ (29 ราย) โดยได้รับการให้คำแนะนำด้านการควบคุมอาหารและ การออกกำลังกายที่เหมาะสม ภายหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และระยะติดตามผล เมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีน้ำหนักหนักขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานไม่เกิน 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 37.93) และตรวจไม่พบระดับน้ำตาลในปัสสาวะ (ร้อยละ 100)
References
Melchior H, Kurch-Bek D, Mund M. The Prevalence of Gestational Diabetes. Dtsch Arztebl Int. 2017 Jul 16;114(24):412-8. doi: 10.3238/arztebl.2017.0412.
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 8th ed; 2017.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth J, Rouse D, Spong CY. Williams Obstetrics. 23rd ed. New York, NY: McGraw-Hill; 2014.
Egan AM, Vellinga A, Harreiter J, Simmons D, Desoye G, Corcoy R, et al. Epidemiology of gestational diabetes mellitus according to IADPSG/WHO 2013 criteria among obese pregnant women in Europe. Diabetologia. 2017 Oct;60(10):1913-1921. doi: 10.1007/s00125-017-4353-9.
McCance DR. Diabetes in pregnancy. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol. 2015 Jul;29(5):685-99. doi: 10.1016/j.bpobgyn.2015.04.009.
Hayes L, Bilous R, Bilous M, Brandon H, Crowder D, Emmerson C, Lewis-Barned N, Bell R. Universal screening to identify gestational diabetes: a multi-centre study in the North of England. Diabetes Res Clin Pract. 2013 Jun;100(3):e74-7. doi: 10.1016/j.diabres.2013.03.019.
International Diabetes Federation. Management of gestational diabetes in the community: Training Manual for Community Health Workers. 8th ed. 2017;1-16.
American Diabetes Association. 13. Management of Diabetes in Pregnancy: Standards of Medical Care in Diabetes-2018. Diabetes Care. 2018 Jan;41(Suppl 1):S137-S143. doi: 10.2337/dc18-S013. PMID: 29222384.
แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ. สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิ: งานทะเบียน แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ; 2564.
Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am. 2000 Jun;35(2):301-9.
Craig JV, Smith RL. The Evidence-Based Practice Manual for Nurses. London: Churchill Living Stone; 2002.
Melnyk BM. Integrating levels of evidence into clinical decision making. Pediatr Nurs. 2004 Jul-Aug;30(4):323-5.
Melnyk BM, Fineout-Overholt E. Evidence-Based Practice in Nursing and Healthcare: A guide to best practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2005.
พัชรากร เพ็ญศิริสมบูรณ์, กนกพร นทีธนสมบัติ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563; 21(2): 252-61.
สุมิตรา คำประเสริฐ, กนกพร นทีธนสมบัติ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอวัน. วารสารเกษมบัณฑิต. 2564;20(1):184-99.
กุณฑลี โควิบูลย์ชัย. การพัฒนาระบบคัดกรองโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ใน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. [รายงานการวิจัย]. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ; 2561.
ประนอม สว่างรัตน์, วาสนา พรหมช่วย, อัจฉรินทร์ ดวงจันทร์, วรพิณ วิทยวราวัฒน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์โดยการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย. [รายงานการวิจัย]. พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง; 2562.
จารุรักษ์ นิตย์นรา, ลาวรรณ ศรีสูงเนิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์ ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2562;13(30):27-43.
กาญจนา ศรีสวัสดิ์, อรพินท์ สีขาว. การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(2):50-9.
กฤษณี สุวรรณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการภาวะเบาหวานด้วยตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2562; 30(2):1-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9