ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมฝึกสมองสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดพร่องเล็กน้อย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ชญานิศา มณีวรรณ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โปรแกรมฝึกสมอง, ผู้สูงอายุ, ภาวะความรู้คิดพร้องเล็กน้อย, ประสิทธิผลของโปรแกรม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฝึกสมองผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดพร่องเล็กน้อย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความรู้คิดพร่องเล็กน้อย ต.ท่าหินโงม และ ต.ซับสีทอง จำนวน 50 คน สุ่มด้วยการสุ่มอย่างง่ายแบบไม่คืนที่ แยกเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมฝึกสมองผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดพร่องเล็กน้อย 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q plus และ 3) การประเมินพุทธิปัญญา (Montreal Cognitive Assessment: MoCA) วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าสถิติ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญ ที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมได้ 46 ราย เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพและไม่สะดวกในการเดินทาง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฝึกสมองผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดพร่องเล็กน้อย มีคะแนนความรู้คิดเฉลี่ยรวมหลังได้รับโปรแกรมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=5.18, p<0.001) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยด้านความตั้งใจจดจ่อ (t=5.79, p<0.001) การระลึกถึงคำก่อนหน้า (t=3.63, p=0.001) และการรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล (t=6.11, p<0.001) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=5.54, p<0.001) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความตั้งใจจดจ่อ (t=4.45, p<0.001) การระลึกถึงคำก่อนหน้า (t=3.63, p=0.001) และการรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล (t=6.11, p<0.001) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้มิติสัมพันธ์/ หน้าที่บริหารจัดการของสมอง การเรียกชื่อ ภาษา และความคิดเชิงนามธรรม ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ควรจัดมีผู้ดูแลเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการกระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่อเนื่องที่บ้าน เพิ่มความสามารถด้านความจำ การสื่อสาร การรับรู้มิติสัมพันธ์และการบริหารจัดการ ค้นหาแนวทางการนำพากลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกิจกรรมที่สถานบริการใกล้บ้านหรือเพิ่มเติมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพทีมที่จัดกิจกรรมให้ครอบคลุม

Author Biography

ชญานิศา มณีวรรณ, โรงพยาบาลชัยภูมิ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562.

ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร. ประสาทวิทยาทันยุค. กรุงเทพฯ: พราวเพรส จำกัด; 2553.

สุภัทรา จันทร์คำ. ผลของโปรแกรมฝึกสมองต่อหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องของการรู้คิด [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

Perri R, Serra L, Carlesimo GA, Caltagirone C; Early Diagnosis Group of Italian Interdisciplinary Network on Alzheimer's Disease. Preclinical dementia: an Italian multicentre study on amnestic mild cognitive impairment. Dement Geriatr Cogn Disord. 2007;23(5):289-300. doi: 10.1159/000100871.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมครบวงจร สำหรับอาสาสมัครผู้ดูแลในชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสินทวีการพิมพ์ จำกัด; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. รายงาน HDC กลุ่มรายงานมาตรฐาน ส่งเสริมป้องกัน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=aa86b13e8cb60cae6c3216b7e3e5f151

ดาวชมพู นาคะวิโร, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, อรพรรณ แอบไธสง, ภัทรา สุดสาคร, จารุณี วิทยาจักษุ์ และคณะ. การกระตุ้นความสามารถสมองด้านทักษะการจัดการ ความใส่ใจ ความจำและมิติสัมพัทธ์ ในผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2560;62(4):337-48.

อรวรรณ์ คูหา. คู่มือพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อย สำหรับบุคลากรสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด; 2563.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. รายงานการพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น[อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-ontent/uploads/2020/07/book_17.pdf.

ประสพชัย พสุนนท์. การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์. 2557; 7(2):112-20.

อรวรรณ์ คูหา. คู่มือการจัดการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมครบวงจร สำหรับผู้จัดการการดูแลภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท อิส ออกัส จำกัด; 2563.

D'Amico F, Rehill A, Knapp M, Aguirre E, Donovan H, Hoare Z, Hoe J, Russell I, Spector A, Streater A, Whitaker C, Woods RT, Orrell M. Maintenance cognitive stimulation therapy: an economic evaluation within a randomized controlled trial. J Am Med Dir Assoc. 2015 Jan;16(1):63-70. doi: 10.1016/j.jamda.2014.10.020. PMID: 25528281.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-17