บทบาทพยาบาลจิตเวชในการป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • สมรทิพย์ วิภาวนิช, ปร.ด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาลจิตเวช, ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่น, การป้องกัน

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบทั้งระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศ สามารถเกิดขี้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย มักพบความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ความคิด ร่างกาย และพฤติกรรม ซึ่งอาการต่างๆ ได้แก่ ซึมเศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่มีสมาธิ มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตนเอง ไม่มีคุณค่า แยกตัว เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่เปราะบางเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้มาก เนื่องจากปัญหาต่างๆ ที่มากระทบต่อชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัวปัญหาการเรียน และปัญหาการถูกระรานหรือบุลลี่ (Bullying) ฯลฯ หากไม่สามารถปรับตัวหรือจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ อาจเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นถือว่ามีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่จะต้องแก้ไข เพราะวัยรุ่นจะเกิดความทุกข์ทรมานจากโรคที่เป็น หากไม่ได้รับการรักษาและการดูแลอย่างถูกวิธี อาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด ดังนั้น การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตามบทบาทของพยาบาลจิตเวชสามารถทำได้โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักแก่วัยรุ่นและครอบครัว ดำเนินการค้นหา และคัดกรองวัยรุ่นทุกคน ลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยปกป้อง ทำการวิจัย สร้างนวัตกรรม โปรแกรมเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว สถานศึกษาและชุมชนในการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับวัยรุ่น และมีการดำเนินงานเชิงรุกร่วมกับสหวิชาชีพ เพื่อให้วัยรุ่นได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที ซึ่งจะเป็นการการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นรายใหม่ และป้องกันการกลับป่วยซ้ำของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าได้

Author Biography

สมรทิพย์ วิภาวนิช, ปร.ด., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อาจารย์พยาบาล

References

Steinberg L, Morris AS. Adolescent development. Annu Rev Psychol. 2001;52:83-110. doi: 10.1146/annurev.psych.52.1.83.

Stuart GW. Principles and Practice of Psychiatric Nursing. 10th ed. St. Louis: Elsevier; 2013.

Varcarolis EM. Essentials of Psychiatric Mental Health Nursing: A communication approach to evidence-based care. 3rd ed. St. Louis: Elsevier; 2017.

Bouma EM, Ormel J, Verhulst FC, Oldehinkel AJ. Stressful life events and depressive problems in early adolescent boys and girls: the influence of parental depression, temperament and family environment. J Affect Disord. 2008 Jan;105(1-3):185-93. doi: 10.1016/j.jad.2007.05.007.

ศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 29]. เข้าถึงได้จาก: https://suicide.dmh.go.th/

Karayazi H. Suicide in adolescents: A case study. Journal of Awareness. 2023;8(2):185-94.

Beck JS. Cognitive Therapy: Basics and beyond. 2nd ed. New York: Guilford; 2011.

Vucenovic D, Sipek G, Jelic K. The Role of Emotional Skills (Competence) and Coping Strategies in Adolescent Depression. Eur J Investig Health Psychol Educ. 2023 Feb 24;13(3):540-552. doi: 10.3390/ejihpe13030041.

Geddes J, Price J, McKnight R. Psychiatry. 4th ed. New York: Oxford University Press; 2012.

Marwick K, Birrell S, Bourke J. Psychiatry. 4th ed. St. Louis: Elsevier; 2013.

Bouma EM, Ormel J, Verhulst FC, Oldehinkel AJ. Stressful life events and depressive problems in early adolescent boys and girls: the influence of parental depression, temperament and family environment. J Affect Disord. 2008 Jan;105(1-3):185-93. doi: 10.1016/j.jad.2007.05.007.

Sadock BJ, Sadock VA. Kaplan and Sadock’s Synopsis of Psychiatry: Behavioral sciences, clinical psychiatry. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2003.

Stuart GW. Principles and Practice of Psychiatric Nursing. 9th ed. St. Louis: Elsevier Mosby; 2009.

Berk LE. Child Development. 6th ed. Boston: Pearson Education; 2003.

Hermida AP, McDonald WM, Steenland K, Levey A. The association between late-life depression, mild cognitive impairment and dementia: is inflammation the missing link? Expert Rev Neurother. 2012 Nov;12(11):1339-50. doi: 10.1586/ern.12.127.

Beck AT, Alford BA. Depression: Causes and treatment. 2nd ed. University of Pennsylvania Press; 2009.

American Psychiatric Association. Anxiety Disorders. In: American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5TM. 5th ed. Washington, DC: American Psychiatric Publishing; 2013.

Gladstone TR, Beardslee WR, O'Connor EE. The prevention of adolescent depression. Psychiatr Clin North Am. 2011 Mar;34(1):35-52. doi: 10.1016/j.psc.2010.11.015.

Beck A, LeBlanc JC, Morissette K, Hamel C, Skidmore B, Colquhoun H, et al. Screening for depression in children and adolescents: a protocol for a systematic review update. Syst Rev. 2021 Jan 12;10(1):24. doi: 10.1186/s13643-020-01568-3.

Pemberton R, Fuller Tyszkiewicz MD. Factors contributing to depressive mood states in everyday life: A systematic review. J Affect Disord. 2016 Aug;200:103-10. doi: 10.1016/j.jad.2016.04.023.

Sendzik L, Ö Schäfer J, C Samson A, Naumann E, Tuschen-Caffier B. Emotional Awareness in Depressive and Anxiety Symptoms in Youth: A Meta-Analytic Review. J Youth Adolesc. 2017 Apr;46(4):687-700. doi: 10.1007/s10964-017-0629-0.

Dieu K. Prevention and intervention of depression in Asian-American adolescents. Contemporary School Psychology. 2016;20(2):107-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04