การจัดการชีวิตและภาวะพึ่งพิงเพื่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง

ผู้แต่ง

  • มธุรส สว่างบำรุง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ธีรยุทธ วิสุทธิ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการชีวิต, ภาวะพึ่งพิง, ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทัศนคติ ปัญหา รูปแบบจัดการชีวิตและภาวะพึ่งพิงเพื่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่ตามลำพัง  รวม 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุมีแนวคิดทัศนคติความสุขแบบอิสระเสรีใน 3 ประเด็น คือ บุคคล  ความคิดและการตัดสินใจ และเวลา ปัญหาที่พบ ได้แก่ รายได้ การสัญจร การนอนหลับไม่ตื่น และเจ็บป่วยภาวะฉุกเฉิน 2) รูปแบบการจัดการชีวิตและภาวะพึ่งพิง ได้แก่ 1. ด้านชีวิตประจำวัน สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันในระดับไม่เป็นการพึ่งพา 2. ด้านสุขภาพกาย มีปัญหาสุขภาพไม่ต่ำกว่า 3 โรคต้องดูแลตนเพิ่มขึ้นโดยใช้กายอุปกรณ์ รวมทั้งพึ่งพิงระบบบริการสาธารณสุข 3. ด้านสุขภาพจิต อยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป มีการจัดการอารมณ์ที่ดีและร่วมกิจกรรมทางสังคม 4. ด้านเศรษฐกิจ  มีผลกระทบต่อความสุขในชีวิตแตกต่างกันในเรื่องทุนเศรษฐกิจและมีรายได้ไม่เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่าย 5. ด้านสังคม ก่อให้เกิดมิตรภาพ การพึ่งพากันที่สัมพันธ์กับบุคลิกภาพเปิดเผยของผู้สูงอายุ และ 6. ด้านศาสนา พัฒนาสุขภาวะด้านจิตวิญญาณซึ่งผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณี จากทั้งหมด 6 ด้านนี้  จัดอยู่ภายใต้มิติบูรณาการ 4 ส่วนระหว่างการพึ่งพิงตนเป็นหลัก ครอบครัว ญาติพี่น้อง สังคม และองค์กร งานวิจัยนี้เป็นแนวทางสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังในระดับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นนำไปพัฒนาการมีส่วนร่วมต่อไป

Author Biographies

มธุรส สว่างบำรุง, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์

ธีรยุทธ วิสุทธิ, คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สภาพัฒน์คาดอีก 20 ปี ไทยจะมีผู้สูงอายุพุ่งถึง 31 เปอร์เซนต์. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 18]; เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39327

สำนักงานสถิติแห่งชาติและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. ม.ป.ท.; 2565.

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. วาระผู้สูงอายุ กับ วาระวิจัยระบบสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 18]; เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5785?show=full

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). มส.ผส.เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยฉบับล่าสุดเผยโควิด -19 ทำผู้สูงอายุรายได้น้อยมีผลกระทบมากที่สุด. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 18]; เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39818

กันนิษฐา มาเห็ม, ปิยนุช ภิญโย, รัชนี พจนา, ภาสินี โทอินทร์, พัฒนี ศรีโอษฐ์. ประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังและความแตกต่างระหว่างหญิงและชาย : การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(2):138-47.

ไทยรัฐ. สังคมไทยเปลี่ยนไปคนแก่อยู่ตามลำพังมากขึ้นแล้วใครจะดูแลยามป่วยไข้. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 18]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2613315

โรงพยาบาลปากพนัง. แบบประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel activities of daily living : ADL). [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 17]; เข้าถึงได้จาก: http://www.pknhospital.com/2019/data/starRPST/homecare/cpso_star62_05.pdf

โสฬวรรณ อินทสิทธิ์, สิริกุล จุลคีรี, บรรณาธิการ. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: resilience quotient. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Orem DE. Nursing concepts of practice. 5th ed. St. Louis: Mosby Year Book; 1995.

มธุรส สว่างบำรุง. อารมณ์เหงากับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562; 33(1):36-52.

WHO. Strengthening mental health promotion. Geneva, World Health Organization (Fact sheet, No.220); 2001.

Roy SC, Andrews HA. The Roy adaptation model: the definitive statement. California: Appleton & Lange; 1999.

โกเมนทร์ ชินวงศ์. อิสรภาพชีวิตคืออุดมคติชีวิต. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 2565;23(2):1-13.

จิตติยา สมบัติบูรณ์, นุชนาถ ประกาศ, บุศริน เอี่ยวสีหยก. ความสุขของผู้สูงอายุไทยในยุค Thailand 4.0. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2562;30(2): 219-28.

กมลภู ถนอมสัตย์. การดำเนินชีวิต ปัญหาอุปสรรค และความต้องการการช่วยเหลือของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2564;13(1):1-12.

อลงกรณ์ เปกาลี, ภรณี วัฒนสมบูรณ์. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่จำกัดของผู้สูงอายุไทย: ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. วารสารสุขศึกษา. 2564;44(1):49-57.

บุษบา แพงบุปผา, ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. การประเมินสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดย Software care plan. [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 17]; เข้าถึงได้จาก: https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20190828143821_656/20190828144009_4062.pdf

ภาคิน บุญพิชาชาญ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, เดชา ทำดี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความผาสุกทางใจในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2565;49(1):186-97.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). กางสถิติพบผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปยังทำงานอยู่กว่าร้อยละ 34 มส.ผส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายเตรียมจัดเวที หาทางออก 21 ส.ค.นี้. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 17]; เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39148

ชวลิต สวัสดิ์ผล, วารี ศรีสุรพล. การพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นเพื่อผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 2565;8(1):43-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-23