ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชน, ผู้ป่วยเบาหวาน, เบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้บทคัดย่อ
การศึกษาแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จำนวน 136 คน สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ความคุมระดับน้ำตาลสะสมในกระแสเลือดไม่ได้ จำนวน 53 คน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired sample t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ก่อนและหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ก่อนและหลังดำเนินการเพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยของคะแนนระดับน้ำตาลของผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ก่อนและหลังดำเนินการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การดำเนินกิจกรรมในการศึกษาทุกขึ้นตอนจำเป็นต้องเป็นไปตามบริบทของชุมชนและวิถีชีวิตของผู้ร่วมศึกษาและชุมชน นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดูแล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีเครือข่ายในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา และกำหนดบทบาทในการแก้ไขปัญหามากขึ้น จึงจะทำให้แนวทางที่ได้เกิดการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
References
เทพ หิมะทองคำ, รัชตะ รัชตะนาวิน, ธิดา นิงสานนท์. ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2555.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ชุดรูปแบบบริการในการป้องกัน ควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง สำหรับสถานบริการ (CVD CKD Detection and Prevention Control Package). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบุมโรค. รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่่ติดต่อ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.
ระพีพร วาโยบุตร, พิมภา สุตรา. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน บ้านหนองโดน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารกองการพยาบาล. 2561;41(2):72-83.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G* Power. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2563;5(1):496-507.
พนิดา เซี่ยงจ๊ง, ธนัช กนกเทศ, ปัทมา สุพรรณกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2557;8(3):30-8.
อนุสรณ์ ลังกาพันธ์. ผลกระทบของการเกิดอนุมูลอิสระจากโรคเบาหวานต่อการทำงานของไต. ลำปางเวชสาร. 2009;30(2):75-83.
ประภารัตน์ ตั้งสกุล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า: กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;8(1):324-32.
ชยพล ศิรินิยมชัย. บทบาทพยาบาลในการจัดการแผลเบาหวานที่เท้า. เวชบันทึกศิริราช. 2562;12(2):132-9.
อภิชาติ กตะศิลา, สุกัญญา ลีทองดี, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลของโปรแกรมการใช้สมุดบันทึกทางคลินิกร่วมกับแรงสนับสนุนจากเพื่อนเบาหวานต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2560;19(1):233-43.
สุธิพร หรเพลิด, นิจฉรา ทูลธรรม, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การประยุกต์ ใช้โปรแกรมพฤติกรรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขวาตะคลอง อำเภอ เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;5(2):52-67.
อนุชา วรหาญ. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2561;12(27): 5-22.
ภาณุมาศ ไกรสัย, วลัย นารีพรมลา. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2560;15(2):101-10.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(2):454-68.
วินัฐ ดวงแสนจันทร์, ตะวัน แสงสุวรรณ, พุทธิพงษ์ พลคำฮัก. การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและ พฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(38):428-42.
จำปา นาฏมงคลเคหา, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(2):145-53.
ยุพา อภิโกมลกร, กัญญาณัฐ ปนตาสาย. ผลของการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพด้วย PRECEDE PROCEED model ใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัด ลำปาง. วารสารควบคุมโรค. 2562;45(4):343-54.
Bandura A. Social Foundations of Though and Action. A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall;1986.
สมถวิล สนิทกลาง, สุนีย์ ละกําปั่น, ปาหนัน พิชยภิญโญ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลส่งเสริมการจัดการตนเองร่วมกับ การสนับสนุนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2565;52(3):205-21.
ทัตติกา ฉัตรชัยพันธ์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัคร สาธารณสุข ประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลผู้เป็นเบาหวานในชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;24(3):83-93.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9