ความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลในการป้องกัน และการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะวิกฤต

ผู้แต่ง

  • จรูญศรี มีหนองหว้า สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จตุพร จันทะพฤกษ์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ไวยพร พรมวงค์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัชนี แสนศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เยาวเรศ คำศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • โยษิตา ศรีโกศล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ภาวะสับสนเฉียบพลัน, ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะวิกฤต, ความรู้, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะวิกฤตของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 51 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 140 คน ดำเนินการวิจัยเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม 2566 ใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกัน และการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลัน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบความรู้โดยวิธีคูเดอร์-ริชาดสัน KR-20 เท่ากับ 0.74 ส่วนแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีค่าความเชื่อมั่นที่ทดสอบโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.94  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.57 อายุระหว่าง 20-24 ปี ความรู้ในการป้องกันและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะวิกฤต พบว่าอยู่ระหว่าง 2-10 คะแนน (gif.latex?\bar{X}=6.76, SD=1.97) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 83.57 รองลงมามีคะแนนความรู้ในระดับต่ำ ร้อยละ 9.23 และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนระหว่าง 33-100 คะแนน (gif.latex?\bar{X}=72.33, SD=12.29) ส่วนใหญ่มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.40 รองลงมาคือ ระดับมาก ร้อยละ 47.10 สรุปผลที่ได้จากการวิจัยทำให้เข้าใจความรู้และการรับรู้สมรรถะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาล ในบริบทของการพยาบาลภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะวิกฤต และเป็นข้อมูลในการวางแผนจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาการศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตและเพิ่มผลลัพธ์ทางการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น

Author Biographies

จรูญศรี มีหนองหว้า, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

จตุพร จันทะพฤกษ์, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

ไวยพร พรมวงค์, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

รัชนี แสนศรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

นักศึกษาพยาบาล

เยาวเรศ คำศรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

นักศึกษาพยาบาล

โยษิตา ศรีโกศล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

นักศึกษาพยาบาล

References

Pandharipande PP, Girard TD, Ely EW. Long-term cognitive impairment after critical illness. N Engl J Med. 2014 Jan 9;370(2):185-6. doi: 10.1056/NEJMc1313886. PMID: 24401069.

Salluh JI, Wang H, Schneider EB, Nagaraja N, Yenokyan G, Damluji A, Serafim RB, Stevens RD. Outcome of delirium in critically ill patients: systematic review and meta-analysis. BMJ. 2015 Jun 3;350:h2538. doi: 10.1136/bmj.h2538. PMID: 26041151; PMCID: PMC4454920.

นิตยา จันทบุตร, ครองสินธุ์ เขียนชานาจ. ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุ: ความท้าทายของการพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2563;4(2):20-39.

Permpikul C, Jirisan W, Srinonprasert V, Tongyoo S. Delirium in a Medical Intensive Care Unit: A Report from a Tertiary Care University Hospital in Bangkok. Siriraj Medical Journal. 2021;73(3):155-61.

Clegg A, Young JB. Which medications to avoid in people at risk of delirium: a systematic review. Age Ageing. 2011 Jan;40(1):23-9. doi: 10.1093/ageing/afq140. Epub 2010 Nov 9. PMID: 21068014.

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: Freeman and Company; 1977.

Bandura A. The explanatory and predictive Scope of self-efficacy theory. JSoc ClinPsychol. 1986;4(3):359-73.

Darawad MW, Hamdan-Mansour AM, Khalil AA, Arabiat D, Samarkandi OA, Alhussami M. Exercise Self-Efficacy Scale: Validation of the Arabic Version Among Jordanians With Chronic Diseases. Clin Nurs Res. 2018 Sep;27(7):890-906. doi: 10.1177/1054773816683504. Epub 2016 Dec 26. PMID: 28024409.

Abdal M, Masoudi Alavi N, Adib-Hajbaghery M. Clinical Self-Efficacy in Senior Nursing Students: A Mixed- Methods Study. Nurs Midwifery Stud. 2015 Sep;4(3):e29143. doi: 10.17795/nmsjournal29143. Epub 2015 Sep 23. PMID: 26576443; PMCID: PMC4644605.

Zengin N, Pınar R, Akinci AC, Yildiz H. Psychometric properties of the self-efficacy for clinical evaluation scale in Turkish nursing students. J Clin Nurs. 2014 Apr;23(7-8):976-84. doi: 10.1111/jocn.12257. Epub 2013 Jul 22. PMID: 23876212.

Robb M. Self-efficacy with application to nursing education: a concept analysis. Nurs Forum. 2012 Jul-Sep;47(3):166-72. doi: 10.1111/j.1744-6198.2012.00267.x. PMID: 22861653.

Desiani S, Nuraeni A, Priambo AP. How do knowledge and self-efficacy of internship nursing students in performing cardio pulmonary resuscitation? Belitung Nursing Journal. 2017;3(5):612-20.

Bloom BS. Taxonomy of Educational Objectives, Handbook 1 Cognitive Domain. David McKay, New York. 1956.

Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF, Baldwin TS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

ไวยพร พรมวงค์, จรูญศรี มีหนองหว้า. ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(37):377-91.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์; 2560.

ธีรภัทร นวลแก้ว, สกาวรัตน์ ไกรจันทร์. ประสบการณ์การเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2565;9(6):31-49.

ยิจิง ลี่, อัจฉรา สุคนธสรรพ์, สุภารัตน์ วังศรีคูณ. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลเกี่ยวกับภาวะสับสนในผู้ป่วยไอซียู โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เมืองคุนหมิง มลฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. พยาบาลสาร. 2564;48(4):41-53.

ปรียาวดี เทพมุสิก, ศศิธร ชำนาญผล, นิตยา กรายทอง, สุกัญญา ผลวิสุทธิ์, จันทนา นิลาศน์, จรูญศรี มีหนองหว้า. ความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤตของพยาบาลวิชาชีพงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2060;1(2):70-85.

กล้าเผชิญ โชคบำรุง, ปาริชาติ วงศ์ก้อน, จินตนา สุวิทวัส. การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2564;44(2):72-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-26