ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมฟอสฟอรัสในอาหาร ของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผู้แต่ง

  • ปิยะดา อาจประจัญ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วศินา จันทรศิริ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศริศักดิ์ สุนทรไชย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยไตเรื้อรังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร, อาหารจำกัดฟอสฟอรัส

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แผนกไตเทียม โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา 2) เปรียบเทียบคะแนนความรู้เกี่ยวกับการควบคุมฟอสฟอรัสในอาหาร ก่อนและหลังการให้โปรแกรม 3) เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำกัดฟอสฟอรัส ก่อนและหลังการให้โปรแกรม 4) เปรียบเทียบระดับฟอสฟอรัสในเลือดก่อนและหลัง
การให้โปรแกรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีฟอสฟอรัสในเลือดมากกว่า 5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จำนวน 27 คน โดยใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมฟอสฟอรัสในอาหารซึ่งประยุกต์จากทฤษฎีของฟิชเชอร์และฮาร์แมน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมฟอสฟอรัสในอาหาร และแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำกัดฟอสฟอรัส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 55 ปีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 61-70 ปี นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพทำธุรกิจส่วนตัวและมีโรคประจำตัวร่วม สาเหตุการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน ระยะเวลาเฉลี่ยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 14 ปี 2) ระดับคะแนนความรู้เรื่องการควบคุมฟอสฟอรัสในอาหารเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) คะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำกัดฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ระดับฟอสฟอรัสในเลือดมีค่าเฉลี่ยลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biographies

ปิยะดา อาจประจัญ, สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นักศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ

วศินา จันทรศิริ, สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์ ดร.

ศริศักดิ์ สุนทรไชย, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์ ดร.

References

ศยามล สุขขา. ไตวายระยะสุดท้าย...การรักษาแบบประคับประคอง [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 23]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/415

Medical Advisory Committee. High phosphorus (hyperphosphatemia) [Internet]. Rockville: American Kidney Fund; 2021 [cited 2021 Dec 15]. Available from: https://www.kidneyfund.org/living-kidney-disease/health-problems-caused-kidney-disease/high-phosphorus-hyperphosphatemia

ชัยรัตน์ ฉายากุล, บรรณาธิการ. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา; 2557.

ญาณินี เจิดรังษี. คู่มือแนะนำปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร. กรุงเทพฯ: เฟรเซนีอุส คาบี; 2556.

Kawate Y, Miyata H. The importance of nutritional intervention by dietitians for hyperphosphatemia in maintained hemodialysis patients. Renal Replacement Therapy [internet]. 2017 [cited 22 Dec 2021]; 3: 1-13. Available from: https://rrtjournal.biomedcentral.com/articles/10.1186/s41100-017-0095-x

Fisher AW, Fisher DJ, Harman JJ. The Information–Motivation–Behavioral Skills Model:A General Social Psychological Approach to Understanding and Promoting Health Behavior. In: Suls J, Wallston AK, editors. Social Psychological Foundations of Health and Illness. United Kingdom: Blackwell; 2003. 82-106.

ปธาน สุวรรณมงคล. การออกแบบวิจัย. ใน: อารมย์ ฤกษ์นุ้ย. ประมวลสาระชุดวิชาวิทยานิพนธ์ขั้น 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559. 1-32.

รัชนีกร ราชวัฒน์. ผลของการใช้โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะต่อความเครียดและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี; มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550

สุนันทา สุทธิศักดิ์ภักดี, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, จงจิต เสน่หา, สุชาย ศรีทิพยวรรณ. ปัจจัยทำนายความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์.35(3):36-45.

Hashemi JM, Al-Zaeem SMA. Effect of nutritional educational program to control hyperkalemia, hyperphosphatemia and phosphate on binder hemodialysis patients. International Journal of Current Research. 2019;11(3):1817-20.

จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม, สุวินัย แสงโย, ศศิณัฏฐ์ พงษ์ธรรม, นิภาภรณ์ ปิ่นมาศ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(4):625-35.

Saemu S, Kritpracha B, Premprabha D, Tantarattanapong W, Juntarapatin P. Pattern of Initial Permanent Vascular Access in New Hemodialysis Patients in Songklanagarind hospital. Journal of the Association of General Surgeons of Thailand under the Royal Patronage of HM the King. 2017; 2(36):35-48.

Pafili Z, Maridaki M, Giannaki CD, Karatzaferi C, Liakopoulos V, Eleftheriadis T, Stefanidis I, Sakkas GK. Phosphorus nutritional knowledge among dialysis health care providers and patients: A multicenter observational study. Clin Nutr ESPEN. 2019 Jun;31:33-37. doi: 10.1016/j.clnesp.2019.03.005.

Milazi M, Bonner A, Douglas C. Effectiveness of educational or behavioral interventions on adherence to phosphate control in adults receiving hemodialysis: a systematic review. JBI Database System Rev Implement Rep. 2017 Apr;15(4):971-1010. doi: 10.11124/JBISRIR-2017-003360.

ศิริธัญญา กลับเจริญ. ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการปฏิบัติด้านอาหารแรงสนับสนุนของครอบครัวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (โภชนศาสตร์)]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

Vaz de Melo Ribeiro P, Miranda Hermsdorff HH, Balbino KP, de Paula Santos Epifânio A, de Paula Jorge M, Bandeira Moreira AV. Effect of a Nutritional Intervention, Based on Transtheoretical Model, on Metabolic Markers and Food Consumption of Individuals Undergoing Hemodialysis. J Ren Nutr. 2020 Sep;30(5):430-439. doi: 10.1053/j.jrn.2019.12.004.

ยุพา ชาญวิกรัย, จักนกฤษณ์ วังราษณ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านโภชนาการต่อภาวะโภชนาการและการรับประทานอาหารใน ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ โรงพยาบาลพะเยา ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 2561; 16(3):30-40.

Sullivan C, Sayre SS, Leon JB, Machekano R, Love TE, Porter D, Marbury M, Sehgal AR. Effect of food additives on hyperphosphatemia among patients with end-stage renal disease: a randomized controlled trial. JAMA. 2009 Feb 11;301(6):629-35. doi: 10.1001/jama.2009.96.

Fung YK, Low LC, Lye CW. Patient education and its effects on calcium-phosphate balance in hemodialysis patients. Hemodialysis International. 2003;7(1):73-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-14