ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีณรงค์

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย แป้นทอง, พ.บ., ส.ม. โรงพยาบาลศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
  • รัตนา สายยศ, พย.บ. โรงพยาบาลศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Case-control study โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือเวชระเบียน (HosXP) ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีณรงค์ ระหว่างปีงบประมาณ 2562-2564 โดยพิจารณาจากสัดส่วนของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1:1 รวมทั้งหมด 276 คน เก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ (Chi-square test) และ Odds ratio

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 55.80  มีอายุอยู่ระหว่าง 27-99 ปี ( =67.17, SD=13.01) ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 46.38 มีประวัติเคยสูบบุหรี่ 46 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.83 ดื่มสุรา จำนวน 61 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.20 มีประวัติความดันโลหิตสูง จำนวน 104 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.36 โรคเบาหวาน จำนวน 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.29 ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้แก่ ประวัติการสูบบุหรี่ (OR=1.89; 95% CI=1.16-3.09) ประวัติการดื่มสุรา (OR=2.52; 95% CI=1.51-4.22) ประวัติการเป็นโรคความดันโลหิตสูง (OR=2.681; 95% CI=1.384-5.193) ประวัติการเป็นโรคเบาหวาน (OR=1.821; 95% CI=1.038-3.193) ประวัติการเป็นโรคไขมันในเลือดสูง (OR=1.905; 95% CI=1.180-3.074) ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c)>7 % (OR=1.738, 95% CI=1.033-2.923) และระดับไขมันเอชดีแอล (HDL)<40 mg/dl (OR=1.682, 95% CI 1.017-2.783)

Author Biographies

วุฒิชัย แป้นทอง, พ.บ., ส.ม., โรงพยาบาลศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

รัตนา สายยศ, พย.บ., โรงพยาบาลศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.; 2560.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2560. [ออนไลน์] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/info/noncommunicable-disease/_2560_.pdf

Truelsen T, Begg S, Mathers C. The global burden of cerebrovascular Disease [Internet]. 2000 [cited 2022 Sep 9]. Available from: https://www.who.int/healthinfo/statistics/bod_cerebrovasculardiseasestroke.pdf

พรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) [ออนไลน์] 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/106_2017-08-19.pdf

Sullivan KM. Open Source Epidemiologic Statistics for Public Health [Internet]. 2000 [cited 2022 Sep 9]. Available from: https://www.openepi.com/SampleSize/SSCC.htm

Pan B, Jin X, Jun L, Qiu S, Zheng Q, Pan M. The relationship between smoking and stroke: A meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2019 Mar;98(12):e14872. doi: 10.1097/MD.0000000000014872.

ถนอม นามวงศ์, นริศรา อารีรักษ์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารควบคุมโรค. 2566;49(1):149-57.

ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, วิระกาญจน์ สุเมธานุรักขกูล. การศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2565;38(1):61-72.

อรรชร สุนทรารักษ์. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนในจังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2561;5(2):27-38.

พรชัย จูลเมตต์. การพยาบาลผู้สูงอายุ: โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์; 2565.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2562;35(4):59-71.

วิไลพร พุทธวงศ์, วิริณธิ์ กิตติพิชัย, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2557;44(1):30-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-23