ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กับพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของเครือข่ายเฝ้าระวังและสื่อสารเตือนภัย พื้นที่มลพิษทางอากาศ เขตสุขภาพที่ 4
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ, ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนบทคัดย่อ
เขตสุขภาพที่ 4 เริ่มมีปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 พบเกินมาตรฐานทุกปีในหลายพื้นที่ จากสาเหตุหลักของอุตสาหกรรม จราจร และการเผา ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต โดยเฉพาะเกิดโรคระบบทางเดินหายใจและเสี่ยงต่อการตายด้วยเส้นเลือดอุดตันในสมอง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ระดับพฤติกรรม รวมถึงการจัดทำข้อเสนอในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในกลุ่มตัวอย่าง เครือข่ายเฝ้าระวังและสื่อสารเตือนภัย จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า การเข้าถึง การเข้าใจ การตรวจสอบ และการตัดสินใจข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.33, 3.39, 3.43 และ 3.34 ตามลำดับ พฤติกรรมการเฝ้าระวังสุขภาพตนเองและชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง (=3.59) และพฤติกรรม การป้องกันการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่ในระดับดี (=3.76)
ข้อเสนอในการจัดกิจกรรมเสริมความรอบรู้และพฤติกรรม พบว่า จังหวัดนครนายก ควรเพิ่มทักษะการเข้าถึง, เข้าใจข้อมูล และการตรวจสอบฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จังหวัดอ่างทอง ควรเพิ่มทักษะการตัดสินใจเลือกป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จังหวัดปทุมธานี ควรเพิ่มทักษะการเฝ้าระวังสุขภาพตนเองและชุมชน รวมถึงการป้องกันการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
References
ภัคพงศ์ พจนารถ. สถานการณ์ของปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดในเมืองใหญ่ของประเทศไทยกรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และ ระยอง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 2559;12(1):114–32.
อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์.การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ.กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.[อินเตอร์เน็ต]2017 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พฤษภาคม 12] เข้าถึงได้จาก http://www.anamai.moph.go.th/ppf2017/Download.pdf
มัตติกา ยงอยู่. การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ.ในเขตสุขภาพที่ 5 [อินเตอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พฤษภาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20221223153805_4419/20230106143602_3102.pdf
วิสาขา ภู่จินดา. ระเบียบวิจัยและสถิติสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก; 2553.
Eysenbach G. Consumer health informatics. BMJ. 2000 Jun 24;320(7251):1713-6. doi: 10.1136/bmj.320.7251.1713.
Keselman A, Logan R, Smith CA, Leroy G, Zeng-Treitler Q. Developing informatics tools and strategies for consumer-centered health communication. J Am Med Inform Assoc. 2008 Jul-Aug;15(4):473-83. doi: 10.1197/jamia.M2744.
Te’eni D. Review: a cognitive-affective model of organizational communication for designing IT. MIS Quarterly. 2001; 25(2):251–312. doi: 10.2307/3250931
Sheridan SL, Halpern DJ, Viera AJ, Berkman ND, Donahue KE, Crotty K. Interventions for individuals with low health literacy: a systematic review. Journal of Health Communication 2011; 16(Supplement 3): 30-54.
Sørensen K, Brand H. Health literacy lost in translations? Introducing the European Health Literacy Glossary. Health Promot Int. 2014 Dec;29(4):634-44. doi: 10.1093/heapro/dat013.
Adams NE. Bloom's taxonomy of cognitive learning objectives. J Med Libr Assoc. 2015 Jul;103(3):152-3. doi: 10.3163/1536-5050.103.3.010.
Jansen T, Rademakers J, Waverijn G, Verheij R, Osborne R, Heijmans M. The role of health literacy in explaining the association between educational attainment and the use of out-of-hours primary care services in chronically ill people: a survey study. BMC Health Serv Res. 2018 May 31;18(1):394. doi: 10.1186/s12913-018-3197-4.
Brabers AE, Rademakers JJ, Groenewegen PP, van Dijk L, de Jong JD. What role does health literacy play in patients' involvement in medical decision-making? PLoS One. 2017 Mar 3;12(3):e0173316. doi: 10.1371/journal.pone.0173316.
Sørensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, Brand H; (HLS-EU) Consortium Health Literacy Project European. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012 Jan 25;12:80. doi: 10.1186/1471-2458-12-80.
Intarakamhang U, Kwanchuen Y. The development and application of the ABCDE-health literacy scale for Thais. Asian Biomedicine. 2016;10(6): 587-94.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. การพัฒนาและการใช้เครื่องมือประเมินความรู้ด้านสุขภาพของคนไทยวัยผู้ใหญ่ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ.2ส. รายงานวิจัย [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 10]. เข้าถึงได้จาก: http://bsris.swu.ac.th/upload/243362.pdf
Azofeifa A, Stroup DF, Lyerla R, Largo T, Gabella BA, Smith CK, Truman BI, Brewer RD, Brener ND; Behavioral Health Surveillance Working Group. Evaluating Behavioral Health Surveillance Systems. Prev Chronic Dis. 2018 May 10;15:E53. doi: 10.5888/pcd15.170459.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแกนนำชุมชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560
Lin Y, Zou J, Yang W, Li CQ. A Review of Recent Advances in Research on PM2.5 in China. Int J Environ Res Public Health. 2018 Mar 2;15(3):438. doi: 10.3390/ijerph15030438.
Laumbach R, Meng Q, Kipen H. What can individuals do to reduce personal health risks from air pollution? J Thorac Dis. 2015 Jan;7(1):96-107. doi: 10.3978/j.issn.2072-1439.2014.12.21.
Kelly FJ, Fuller GW, Walton HA, Fussell JC. Monitoring air pollution: use of early warning systems for public health. Respirology. 2012 Jan;17(1):7-19. doi: 10.1111/j.1440-1843.2011.02065.x.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9